มูลเหตุข่าวลือความไม่ลงรอยระหว่างผู้นำเกาหลีใต้รายใหม่กับ BTS

ควอนซองดง ผู้นำรัฐสภาจากพรรคพลังประชาชนเกาหลี

“เวลาเยือนต่างประเทศ ประธานาธิบดีมุนแจอินเองก็พา BTS ติดสอยห้อยตามไปด้วยนี่ครับ”

ผู้ที่ได้ยินคำพูดนี้ของนาย ควอนซองดง ผู้นำรัฐสภาจากพรรคพลังประชาชนเกาหลี กล่าวเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา อาจคลายความสงสัยไปประเด็นหนึ่ง นั่นคือข่าวลือที่ว่า HYBE หรือต้นสังกัดของ BTS ถูกตรวจสอบภาษีโดยกรมสรรพากรเพราะประธานาธิบดี ยุนซ็อกยอล ไม่ชอบพอในตัว BTS นั่นเอง

แทนที่จะยอมรับความผิดพลาด ประธานาธิบดีคนใหม่รายนี้กลับหาทางหนีทีไล่ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายและบุคลากรในรัฐบาลมุนแจอิน ส่วนหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Service) ของเกาหลีใต้ก็ดำเนินการสอบสวนภายในฝ่ายบริหารสมัยรัฐบาลมุนแจอิน ในขณะที่รัฐบาลและพรรครัฐบาลพรั่งพรูความเกลียดชังต่อรัฐบาลชุดก่อน ผู้นำพรรครัฐบาลก็กล่าวว่า BTS เป็นไอดอลที่ถูกเกณฑ์มาโปรโมตรัฐบาลมุนแจอิน

เมื่อรวมสถานการณ์เหล่านี้เข้าด้วยกัน ก็จะได้สมมติฐานที่ว่า ‘คนจากรัฐบาลใหม่และคนจากพรรครัฐบาล รวมถึงประธานาธิบดียุน ไม่ชอบพอในตัว BTS’ ขึ้นมาโดยปริยาย ซึ่งอธิบายสาเหตุที่ทำให้ HYBE โดนตรวจสอบภาษีของต้นสังกัด BTS ตามที่มีการรายงานข่าวเมื่อเดือนมิถุนายน ได้ว่า ‘เพราะรัฐบาลไม่ชอบ BTS’ นั่นเอง

BTS ไม่ได้ทำอะไรเลย

ความจริงแล้ว กรณี HYBE ถูกกรมสรรพากรตรวจสอบภาษีนั้นเป็นการตรวจสอบภาษีทั่ว ๆ ไปตามกำหนดเวลา เมื่อมีรายงานข่าวการตรวจสอบภาษีเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา HYBE จึงอธิบายว่า เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้แล้วว่าจะเกิดขึ้นตามกำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) ที่เพิ่มขึ้น BTS ไม่ได้แสดงท่าทีใด ๆ แม้แต่กับข่าวลือความไม่ลงรอยกับกลุ่มอำนาจใหม่ทางการเมือง แต่มันก็เป็นเรื่องที่ลำบากเพราะเรื่องราวถูกวางมาจากองค์ประกอบพวกนั้น จุดเริ่มต้นมาจากข่าวการพิจารณาให้มีการแสดงของ BTS ในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดี

นายพัคจูซอน ประธานกรรมาธิการฝ่ายจัดเตรียมพิธีสาบานตน ตอบคำถามระหว่างสัมภาษณ์กับผู้จัดรายการวิทยุ KBS Radio 1 เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ถามว่า ‘BTS กำลังเตรียมการแสดงสำหรับงานนี้อยู่หรือเปล่า?’ ว่า “กำลังหารือเรื่องนี้กันอยู่”

ข่าวนี้ถูกรายงานออกไปโครมคราม ทว่า ในงานแถลงข่าวที่จัดขึ้นในวันที่ 11 เมษายน ประธานฯ พัค กลับเผยว่า “ได้ข้อสรุปแล้วว่าจะไม่มีการเชิญ BTS มาทำการแสดงในพิธีสาบานตนของประธานาธิบดียุนซ็อกยอล” ทั้งยังอธิบายอีกว่า “การรับรองศิลปินไอดอลระดับโลกอย่าง BTS ด้วยงบประมาณพิธีสาบานตนที่มีจำนวนจำกัดนั้นอาจเป็นเรื่องที่ลำบาก จึงได้ข้อสรุปว่าจะไม่มีการเชิญ BTS มาในพิธีดังกล่าว”

ฟังดูเป็นเรื่องราวประหนึ่งว่าการปรากฏตัวของ BTS ล้มเหลวไม่เป็นท่าเพราะปัญหาค่าใช้จ่าย ซึ่งก็อาจถือได้ว่า ‘ข่าวลือความไม่ลงรอย’ ของประธานาธิบดีคนใหม่กับ BTS เริ่มมาจากเปลาะนี้ ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ HYBE ก็โดนตรวจสอบภาษี เรื่องราวที่ว่า ‘BTS ไม่ได้เป็นที่ชอบพอต่อประธานาธิบดียุน’ จึงดูเข้าที

BTS เสนอค่าปรากฏตัวในพิธีสาบานตนของประธานานาธิบดีสูงจริง ๆ หรือ? อ้างอิงจาก HYBE ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน กรรมาธิการฝ่ายจัดเตรียมพิธีสาบานตนไม่ได้ยื่นข้อเสนอใด ๆ เกี่ยวกับการปรากฏตัวของ BTS ไปยัง HYBE อีกทั้ง HYBE เองก็ทราบเรื่องดังกล่าวเป็นครั้งแรกจากรายงานข่าว ซึ่งหลังจากนั้น ก็ไม่ได้มีการเจรจาขอร้องให้ไปปรากฏตัวหรือเจรจาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

คนกลุ่มนี้ประกาศว่ากำลังพิจารณาให้ BTS มาปรากฏตัวโดยไม่ได้เจรจากับ HYBE จากนั้นก็เอ่ยถึง ‘ปัญหาค่าใช้จ่าย’ ขึ้นมาทั้ง ๆ ที่ไม่ได้แลกเปลี่ยนความเห็นใด ๆ กัน และประกาศว่า ‘การปรากฏตัวล้มเหลว’ เสียอย่างนั้นอยู่ฝ่ายเดียว BTS ไม่ได้ทำอะไรสักอย่าง แต่กลับกลายเป็นไอดอลที่เรียกร้องค่าตัวสูงจากพิธีสาบานตนของประธานาธิบดี

ใครกันแน่ที่พา BTS ติดสอยห้อยตามไปด้วยเป็นประจำ? 

ควอนซองดง ผู้นำรัฐสภาจากพรรคพลังประชาชนเกาหลีนี่เองที่ลาก BTS เข้ามาอยู่ฝ่ายเดียว เขาผู้นี้แก้ต่างให้กับสองสามีภรรยาผู้นำเกาหลีใต้ กรณีมีเลขาธิการฝ่ายบุคคลของสตรีหมายเลขหนึ่ง ซึ่งเป็นพลเรือน อยู่ในคณะผู้ติดตามในกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำ NATO ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน ซึ่งเกิดข้อถกเถียงว่าเป็นการปฏิบัติภารกิจลับที่มีการลงภาคสนาม พร้อมทั้งหาเรื่องให้กับ BTS

จุดร่วมระหว่าง BTS และเลขานุการฝ่ายบุคคลของสตรีหมายเลขหนึ่ง คือ การใช้วาทกรรมเพ่งเล็งว่าเป็น ‘พลเรือน’ จากการไปเยือนของ BTS เมื่อเดือนกันยายนปี 2021 UN ประชาสัมพันธ์ใจความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดการครั้งนั้นที่ BTS ไอค่อนแห่งวัฒนธรรมระดับโลก ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนประธานาธิบดีพิเศษ ได้ร่วมเดินทางไปกับประธานาธิบดีมุนแจอิน ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง เทียบไม่ได้กับการที่พลเรือนผู้ไม่รู้ว่าตนมีคุณสมบัติใด วางแผนและจัดการกำหนดการของสองสามีภรรยาประธานาธิบดีและได้รับคำครหาว่าเป็นปฏิบัติการลับ

ด้วยวิธีการนี้ การที่รัฐบาลและพรรครัฐบาลเอาแต่ลาก BTS เข้าสู่การโปรโมตพิธีสาบานตน และแก้ต่างข้อถกเถียงที่เกิดขึ้น จึงยิ่งทำให้ข้อสงสัยของประชาชนที่ว่า ‘ประธานาธิบดียุนซ็อกยอล ไม่ชอบ BTS’ ยิ่งกลายเป็นจริงขึ้นทุกที คนที่พา BTS ที่ไม่มีปากมีเสียง ติดสอยห้อยตามไปด้วยเป็นประจำ ก็คือคนพวกนี้นี่เอง

ที่มา | 1, 2
แปลและเรียบเรียงจากเกาหลีเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment