MAP OF THE SOUL

BTS เจาะลึกหลักจิตวิทยาลงในอัลบั้ม Map of the Soul

กว่า 30 ปีมาแล้วที่ศาสตราจารย์เมอร์เรย์ สไตน์ บรรยายในคลาสที่สถาบันคาร์ลแห่งเมืองอีแวนสตัน ในรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ได้นำไปสู่อิทธิพลอันเกินจะคาดเดาในอุตสาหกรรมเพลงป็อป

ประเด็นที่ว่านั้นเกี่ยวกับ คาร์ล ยูง (Carl Jung) บิดาผู้ค้นพบการวิเคราะห์จิตวิทยา ผู้นำเสนอและพัฒนาแนวบุคลิกภาพ  Extravert และ Introvert รวมถึงพลังแห่งจิตใต้สำนึก (The Power of Unconcious) ศาสตราจารย์สไตน์ กรั่นกรองทฤษฎีของคาร์ลที่กระจัดกระจายในชุดผลงานของคาร์ล 18 เล่ม สู่หนังสืออ่านขั้นต้นที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย แก่นักเรียนและผู้ฝึกการเป็นนักจิตวิเคราะห์ หลักสูตรของเขากลายเป็นหนังสือ แผนที่แห่งจิตวิญญาณของยูง – Jung’s Map of the Soul ซึ่งได้กลายเป็นที่จดจำในฐานะหนึ่งในบทนำสู่แนวทางการวิเคราะห์จิตวิทยาที่ยอดเยี่ยมที่สุดเล่มหนึ่ง ซึ่งได้ตีพิมพ์ซ้ำ 15 ครั้งในฉบับภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังถูกแปลไปอีกหลากหลายภาษา

MAP OF THE SOUL
Jung’s Map of the Soul โดยศาสตราจารย์เมอร์เรย์ สไตน์

เป็นที่น่าทึ่งแก่ศจ.สไตน์อย่างยิ่ง เพราะผลงานตีพิมพ์ดังกล่าวยังเป็นหัวใจสำคัญสำหรับอัลบั้มล่าสุดของศิลปินปรากฏการณ์ K-Pop หรือ BTS ที่เตรียมขึ้นสู่อันดับ 1 ทั้งสองฟากฝั่งคาบสมุทรแอตแลนติก (สหราชอณาจักรและสหรัฐอเมริกา) ในสัปดาห์นี้ “สองสามเดือนที่แล้ว มีนักเรียนชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งบอกผมว่าพบเว็บไซต์เกี่ยวกับ BTS แนะนำหนังสือของผม” ศจ.สไตน์ ให้สัมภาษณ์กับ BBC จากสถาบันนานาชาติด้านการวิเคราะห์จิตวิทยาในเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ “ผมถามเขาว่า BTS คืออะไร? เขาเล่าให้ผมฟัง แล้วผมก็เลยไปเสิร์ชดู ได้อ่านอะไรเกี่ยวกับพวกเขานิดหน่อย แล้วก็ทิ้งไว้แค่นั้น หลังจากนั้นประมาณหนึ่งเดือน เด็กคนเดิมมาบอกผมว่าพวกเขาออกอัลบั้มใหม่ชื่อ Map of the Soul: Persona เล่นเอาผมทึ่งไปเลยครับ”

จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่แค่ชื่อของอัลบั้ม แต่เนื้อเพลงของ BTS ยังเจาะลึกถึงจิตวิญญาณ (Physce), อัตตา (Ego) และจิตไร้สำนึกที่สะสมมาตั้งแต่ในอดีต (Collective Unconscious) ตามแนวคิดของคาร์ล ยูง (Carl Jung) โดยเน้นไปที่ประเด็นของ Persona (หน้ากากตามบทบาทของบุคคล) เป็นพิเศษ

“Persona เป็นคำที่อ้างอิงมาจากการแสดงในโรงละคร มีความหมายตามภาษาละตินว่า หน้ากากที่นักแสดงสวมใส่ขึ้นแสดง ซึ่งในแง่หนึ่งนั้น พวกเราทุกคนก็ล้วนสวมหน้ากากเวลาเราออกสู่สาธารณะ มันเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นสัตว์สังคมที่เราจำเป็นต้องเข้ากับผู้อื่น ต้องแสดงออกอย่างสุภาพ หรือต้องเป็นส่วนหนึ่งของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ในบางวัฒนธรรม เรื่องนี้อาจมีความสำคัญกว่าเรื่องอื่น ผมพูดเลยว่าในวัฒนธรรมเอเชียอย่างญี่ปุ่นหรือเกาหลีที่ BTS แจ้งเกิด นั้น Persona เป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างยิ่ง วิธีที่คุณนำเสนอตัวคุณออกมา วิธีกล่าวถึงผู้อื่น หรือวิธีวางตัวในสังคม เช่นในฐานะน้องชาย นักเรียน หรือศาสตราจารย์ สิ่งเหล่านี้ล้วนชัดเจนแจ่มแจ้งในจิตสำนัก และการทำหน้าที่เป็นบุคคลคนหนึ่งในสังคมที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่ง”

BTS มุ่งตรงไปที่คอนเซ็ปต์นี้ตั้งแต่เพลง Persona ซึ่งเป็นแทร็กเปิดตัวของอัลบั้ม Map of the Soul

“‘ฉันเป็นใคร?’ คือคำถามที่ฉันถูกถามมาตลอดชีวิต และฉันคงไม่มีวันได้พบกับคำตอบ”

RM แรพเล่าถึงคำยกย่องที่ได้รับจากหน้ากากที่สวมใส่เป็นตัวตนบนเวทีว่า มันหยุดยั้งเขาจากการทำความรู้จักตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง และการบอกเล่าถึงข้อบกพร่องที่เขามี

ในมิวสิกวิดีโอ RM เผชิญหน้ากับตัวตนของตัวเองในร่างยักษ์ พรรณนาว่าหน้ากากบดบังอัตตาของเขา และทำการแสดงในห้องที่รายล้อมด้วยกระจกที่สะท้อนแง่ของบุคลิกที่ถูกกดทับเอาไว้

ศจ.สไตน์ เข้าใจถึงการดิ้นรนเพื่อรักษาสมดุลย์ระหว่างชีวิตในสาธารณะและชีวิตส่วนตัวที่ BTS ต้องเผชิญภายใต้ “หน้ากาก (Persona)” อันเป็นสภาวะที่กระตุ้นปัญหาทางจิตที่รุนแรง

“เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญเพราะคนหนุ่มสาวที่รู้สึกว่าตนมีหน้ากากไม่เพียงพอหรือรู้สึกว่าเข้ากับคนอื่นไม่ได้ พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีความเสี่ยงต่อการถูกรังแกหรือการกระทำที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย ผมจึงคิดว่า BTS เอ่ยถึงประเด็นเหล่านี้ได้ถูกเวลาและมีความหมายต่อผู้ฟังของพวกเขาอย่างยิ่ง”

พวกเขา BTS ยังคงกุมผู้ชมเอาไว้อยู่หมัดด้วยแง่คิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ตัวตนตลอดทั้งอัลบั้ม Map of the Soul: Persona ในขณะที่ Mikrokosmos บอกเล่าถึงคุณค่าของตัวตนจากภายใน ส่วน Jamais Vu ให้ความสำคัญกับแนวโน้มในการทำความผิดเดิมซ้ำ ๆ

ศจ.สไตน์ ลงลึกถึงเนื้อเพลงผ่านพอดแคสท์ Speaking of Jung podcast ในเอพิโซดที่ 44 โดยได้อธิบายว่าอัลบั้ม Map of the Soul: Persona เป็นอัลบั้มที่เต็มเปี่ยมไปด้วย “ความปรารถนาและการดิ้นรนเพื่อค้นหาแก่นแท้” ที่คลายปมออกมาผ่าน Dionysus ซึ่งเป็นแทร็กสุดท้ายอย่างได้อย่างไร ซึ่งพวกเขา BTS ได้ “ทลายออกจากกลลวงของหน้ากาก (Persona)” และตื่นรู้ในที่สุด

เจฟฟ์ เบนจามิน คอลัมนิสต์จาก Billboard กล่าวว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่ผลงานเพลงป็อปจะมาเจาะลึกประเด็นเช่นนี้ แต่ศิลปิน K-Pop เองก็นำมุมมอง “ที่แปลกแหวกแนวและเฉพาะเจาะจง” มาใช้อยู่บ่อย ๆ “K-Pop มีคอนเซ็ปต์หลากหลายตั้งแต่เทวตำนานกรีก สัตว์แปลก ตัวละครทางศาสนา ไปจนถึงภาพยนตร์ของ Nick Cannon แต่ผมนึกไม่ออกเลยว่ามีศิลปิน K-Pop ดัง ๆ รายไหนถกประเด็นจิตวิทยาและปรัชญาในเนื้อเพลง ซึ่งถ้าหากมีวงไหนที่มาทางนี้ก็คงไม่ใช่วงในระดับใกล้เคียง BTS หรือถ้ามีก็คงไม่ทำออกมาได้แจ่มแจ้งเท่าอัลบั้ม Map of the Soul”

“BTS ไม่ธรรมดาทีเดียวค่ะ” ศาสตราจารย์อ็อมเฮคยอง นักบรรยายและผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านดนตรีเอเชียที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลกล่าว “แต่ถ้าพวกเขาไม่ใช่วง K-Pop ฉันก็ไม่คิดว่ามันจะประเด็นขนาดนี้เหมือนกัน สิ่งที่คนรับรู้เกี่ยวกับ K-Pop โดยเฉพาะในฝั่งตะวันตกคือการบรรจุทุกอย่างลงไปในกล่องเล็ก ๆ โดยที่สิ่งเหล่านั้นถูกประดิษฐ์ขึ้น เป็นของเทียม และตัวศิลปินก็ไม่ได้เปล่งเสียงของตัวเอง หากใครสักคน เช่น Joni Mitchell มีเนื้อเพลงเกี่ยวกับ Map of the Soul ก็คงไม่เป็นประเด็นพาดหัวใหญ่โตเหมือนกัน”

ศจ.อ็อม ผู้เติบโตในประเทศเกาหลี เสริมว่าการสำรวจตัวตนเป็นลักษณะพิเศษในดนตรีพื้นบ้านของเกาหลีมาอย่างยาวนาน ดังจะเห็นได้จากศิลปินอย่าง ชองแทชุน และคิมควังซอก ซึ่งปรัชญาเหล่านี้เป็นสิ่งที่กระแสสังคมส่วนใหญ่คำนึงถึง “ความรู้เป็นต้นทุกคนที่สำคัญ คนเกาหลีจึงเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือปรัชญาที่มีเนื้อหาหนักหน่วง การรับรู้และเข้าใจในบางสิ่งอย่างลึกซึ้งถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะจะเพิ่มความมั่นใจและคุณค่าในตัวเอง อีกทั้งจะทำให้เรารู้แจ้งยิ่งขึ้น เพราะเหตุนี้คุณถึงจะเจอหนังสือปรัชญาในชั้นวางหนังสือขายดีในเกาหลี แต่ไม่เจอในร้าน Waterstones ในอังกฤษ”

เธอยังเน้นอีกว่า อิทธิพลที่ดีของ บังชีฮยอก เจ้าของค่าย HYBE และ Big Hit Music ที่ BTS สังกัดอยู่ ถึงศึกษาด้านปรัชญาก่อนที่จะมาเป็นนักแต่งเพลงให้แก่ผลงานของ BTS “ฉันไม่คิดว่าเขาเป็นคนบอกให้ BTS ลงมือทำอะไร เขาเป็นคนที่มีความสามารถและฉลาดมาก สิ่งเหล่านี้เป็นแท็กติกทางธุรกิจที่แยบยลเพื่อขายหนังสือเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ไปพร้อม ๆ กับงานเพลง ซึ่งถ้ามันมีส่วนช่วยให้ผู้ฟังได้ซาบซึ้งและเพลิดเพลินด้านวรรณกรรมไปด้วย ก็แล้วทำไมจะไม่ลองดูล่ะ”

สำหรับศจ.สไตน์ การเปิดตัวของ Map of the Soul ทำให้เขาได้เรียนคอร์สระยะสั้นเรื่อง K-Pop และฐานแฟนคลับสมัยใหม่ สามสัปดาห์ล่าสุดที่ผ่านมา เขาง่วนอยู่กับการ ตอบคำถามจากอาร์มี่ เกี่ยวกับเนื้อเพลงของ BTS และเกี่ยวกับหนังสือของเขา “มันชักจะครอบงำชีวิตผมแล้วครับ” เขาหัวเราะ “ผมอายุ 75 แล้ว ผมจึงไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับเพลงป็อปหรอกครับ นอกเสียจากว่ามันฟังดูอึกทึกครึกโครม”

อย่างไรก็ตาม เขาเผยถึงความประทับใจที่ BTS เข้าใจเรื่องสุขภาพจิต “ผมเคยได้ยินมาว่าเรื่องความตายและความก้าวร้าวเป็นประเด็นสำคัญในงานเพลง อย่างที่รู้กันดีว่าพวกแรปเปอร์ก็ทำในสิ่งที่พวกเขาทำอย่างแน่วแน่ มันจึงดูเป็นแนวทางที่ดีและมีประโยชน์ต่อวงป็อปที่ยิ่งใหญ่ระดับพวกเขา พวกเขามีคนติดตามเป็นล้าน ซึ่งสำหรับพวกเขาที่นำเสนอถ้อยความแบบนี้นั้นเป็นสิ่งที่สร้างขวัญกำลังใจในโลกที่เราต้องดิ้นรนอย่างไม่หยุดหย่อนอย่างมาก”

เจฟฟ์ เบนจามิน กล่าวต่ออีกว่า การเจาะลึกในแนวทางจิตวิทยาแบบยูง ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงแค่ในอัลบั้มนี้ “BTS เคยปล่อยอัลบั้มสามชุดต่อเนื่องมาแล้ว พวกเขาบอกว่า Map of the Soul: Persona จะเป็นจุดเริ่มต้นหน้าบทใหม่ในเส้นทางอาชีพของพวกเขา ผมเลยมีความรู้สึกแน่ ๆ ว่าเราจะได้เห็นอัลบั้ม Map of the Soul อย่างน้อยอีกสักอัลบั้ม หาก Persona เป็นแง่มุมแรกที่พวกเขาเจาะลึกลงในทฤษฎียูง เราอาจได้เห็นอัลบั้ม Map of the Soul: Shadow ก็ได้ ผมคาดเดาว่า BTS น่าจะเจาะลึกในด้านที่มืดมนในจิตวิญญาณของเมมเบอร์ จริง ๆ แล้วก็น่าจะเป็นด้านที่น่าตื่นตาต่อการเจาะลึก และคงจะเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นในวงการ K-Pop มาก่อนด้วยเช่นกัน”

ศจ.สไตน์ ก็เห็นพ้องต้องกัน “ผมมองว่าอัลบั้มนี้ได้ปูฐานรากสำหรับการพัฒนาต่อยอด เราต้องคอยติดตามแล้วว่าพวกเขาจะนำเสนออะไรในอัลบั้มถัดไป”

ที่มา | BBC
แปลจากอังกฤษเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment