CONNECT, BTS

CONNECT, BTS ปรัชญาแห่งการเคารพความแตกต่าง ความคาบเกี่ยวระหว่าง BTS และศิลปะร่วมสมัย

BTS เปิดโปรเจคงานจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย CONNECT, BTS ที่แกลอรี่ระดับโลก Serpentine Galleries ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อนเปิดตัวอัลบั้มใหม่ MAP OF THE SOUL : 7 โปรเจคการจัดแสดงผลงานครั้งนี้นำเสนอผลงานศิลปะร่วมสมัย โดยมีเหล่าศิลปินกว่า 22 ราย ร่วมสร้างสรรค์และจัดแสดงผลงานขึ้น ณ 5 หัวเมืองใหญ่ทั่วโลก ได้แก่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี, กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา, กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ และกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา 

โปรเจค CONNECT, BTS ได้ภัณฑารักษ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากทั่วโลกร่วมงานด้านควบคุมการจัดแสดงในแต่ละประเทศ ได้แก่ Ben Vickers และ Kay Watson ที่กรุงลอนดอน, Stephanie Rosenthal และ Noémie Solomon ที่กรุงเบอร์ลิน, Thomas Arnold ที่กรุงนิวยอร์ก สำหรับผู้วางแผนและควบคุมงาน ได้นายอีแดฮยอง ผู้กำกับศิลป์จากประเทศเกาหลี อดีตผู้กำกับศิลป์ของศาลาเกาหลี (Korean Pavillion) ในงานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ประจำปี 2017 รับหน้าที่ 

ต่อไปเป็นบทสัมภาษณ์กับนายอีแดฮยอง

CONNECT, BTS
ผู้กำกับศิลป์ อีแดฮยอง / ArtAsiaPacific

▶ BTS โคจรมาพบกับศิลปะร่วมสมัย อธิบายโปรเจคนี้ให้ทราบหน่อยสิคะ

‘CONNECT’ เป็นเพียงคำสั้นๆ แต่ในคำที่ทรงพลังนี้ประกอบด้วยความหมายมากมาย มันคือโครงสร้างที่ศิลปินและภัณฑารักษ์ผู้เข้าใจและสนับสนุนในแนวคิดที่ BTS เน้นย้ำผ่านเพลง ได้ต่อเชื่อมการจัดแสดงแต่ละแห่งตามหัวเมืองทั่วโลกเข้าด้วยกัน

โปรเจคนี้ไม่ใช่โปรเจคที่ BTS ทำงานศิลปะร่วมสมัย หรือศิลปินจัดแสดงผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก BTS แต่ BTS คือแกนกลางของแผนงาน, เป็นผู้วางโครงร่างของงาน และสนับสนุนศิลปินและภัณฑารักษ์ผู้มาร่วมจัดแสดงผลงาน

▶ แนวคิดของ BTS ที่เหล่าศิลปินเข้าใจหมายถึงสิ่งใด? 

พวกเราอยู่ในสังคมที่เชื่อมต่อกับผู้คนอื่นได้เพียงกระดิกนิ้ว แต่ที่น่าตลกคือทั้งๆ ที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายขนาดนี้ เรากลับรู้สึกโดดเดี่ยว ความขัดแย้งและความโหดร้ายก่อตัวขึ้นอย่างน่ากลัว เพราะคนเรารู้สึกถึงความแบ่งแยก และถูกแบ่งแยก เราคาดหวังว่าศตวรรษที่ 20 แห่งสงครามและการเป็นปรปักษ์จะยุติลง และทุกอย่างจะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 กลับกันมันกลับเลวร้ายลงในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย่งระหว่างประเทศ, การล่มสลายของกลุ่มสังคม… นี่คือยุคที่ความแตกต่างหายไปอย่างแท้จริง

“ทุกชีวิตล้วนสำคัญ​” ปรัชญาเรียบง่ายที่ BTS พร่ำบอกเสมอผ่านบนเพลง “เพราะเหตุใด? ก็เพราะเราแตกต่าง” จากจุดนี้เองที่ศิลปินและภัณฑารักษ์ให้การสนับสนุน และความรู้สึกร่วมกันเริ่มก่อตัว มนุษย์คือปัจเจกบุคคล แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ต่างก็เป็นสัตว์สังคม มนุษย์จะอยู่รอดก็ต่อเมื่อพึ่งพาอาศัยกัน, เชื่อมต่อกัน และรวมผนึกกำลังเข้าด้วยกัน หากแต่สายสัมพันธ์นี้กับพังทลายลง

คนเราจะเข้าใจโลกใบนี้ทั้งหมดทั้งมวลเพียงมองเห็น, ฟังเสียง และดมกลิ่น ได้อย่างไร เราจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อเปิดประสาทสัมผัสต่างๆ สร้างพลังที่จะเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน มิใช่ปฏิเสธและผลักไสไล่ส่งกันเพราะแตกต่าง และปรัชญาของ BTS ได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งเหล่านั้นแล้ว

ARMY คือคำตอบของคำถามเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมที่ BTS พูดถึง คือสัญลักษณ์ของผนึกกำลังเชิงบวก ARMY ผู้มิได้โอบกอดเพียง ‘พวกเรา’ แต่โอบกอดใครๆ ก็ตาม ขยายเส้นพรมแดนให้กว้างขึ้น และเบิกเส้นขอบฟ้าเส้นใหม่ บทบาทของเหล่าศิลปินก็เช่นเดียวกัน และนั่นทำให้เกิดการคาบเกี่ยวกับอาณาเขตของศิลปะร่วมสมัยอย่างพอดิบพอดีนั่นเอง 


กลไกของผนึกกำลังที่ก้าวข้ามพรมแดน คือสิ่งที่ทำให้เราหวนระลึกถึงบทบาทของอนาคต และบทบาททางสังคมของงานศิลปะ


▶ ‘การโคจรมาพบกันระหว่างบทเพลงและศิลปะร่วมสมัย’ คือหัวข้อสุดอลังการ

ถ้าอธิบายเกี่ยวกับโปรเจค ก็จะเข้าใจได้ในทันที แต่ผมไม่ได้อยากคลายปมเพียงนำงานศิลปะมารวมกับบทเพลง ดังนั้นแต่ละสิ่งจึงนำบริบทของกันและกันมาใช้ เช่น ศิลปะใช้บริบทของบทเพลง และบทเพลงใช้บริบทของศิลปะ

ท้ายที่สุดแล้ว บทเพลงคือเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ปุถุชน และศิลปะชั้นสูง (วิจิตรศิลป์) คือการก้าวข้ามข้อจำกัดของภาษา แม้ตลอดมาจะมีการพยายามเผยแพร่ศิลปะ แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัด แถลงการณ์เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาคือเงื่อนไขที่ยังมีผล อิทธิผลที่ไปถึงผู้คนเองก็น้อยลงทุกที

ในแง่นั้น พลังบวกของ BTS เช่น ศักยภาพที่สร้างผนึกกำลังที่ก้าวข้ามพรมแดน กลไกในบริบทนั้นคือสิ่งที่ทำให้เราหวนระลึกถึงบทบาทของอนาคตและบทบาททางสังคมของงานศิลปะ

BTS เผยผ่านวิดีโอข้อความที่เปิดเผยในงาน CONNECT, BTS เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา “พวกเรามาจากพื้นเพวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน, ใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน และพูดคุยกันคนละภาษา ศิลปะร่วมสมัยและบทเพลงก็เป็นโลกอีกโลกหนึ่ง โปรเจคนี้เป็นโปรเจคที่มีความหมายสุดพิเศษต่อพวกเรา เพราะเป็นการนำเสนอความแตกต่างอย่างถ่องแท้ และเป็นการส่งผ่านถ้อยความเชิงบวกที่พวกเราร่วมสร้างสรรค์ให้โลกได้รับรู้”

ที่มา | The Korea Herald
แปลจากเกาหลีเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment