Pdogg

โปรดิวเซอร์ผู้แฝงตัวอยู่ในวงการ K-Pop: โปรดิวเซอร์ Pdogg ผู้นำมาซึ่งความสำเร็จรางวัล Billboard ของ BTS 

ก้าวย่างของ BTS นั้นไม่เหมือนใครตั้งแต่จุดเริ่มต้น เริ่มต้นจาก บริษัทเล็กๆ ไม่ใช่บริษัทใหญ่ที่รู้จักของใครๆ เพลงแรกก็ไม่ได้ ‘ปัง’ หาได้ยากนักในอุตสาหกรรมเพลงในเกาหลีกับการที่พวกเขาใส่เรื่องราวการเติบโตของตัวพวกเขาเองลงในเพลง พร้อมกับลากกราฟ การเติบโตผ่าน ซีรี่ส์ ‘ไตรภาคโรงเรียน’ และ ‘ไตรภาควัยรุ่น’  พวกเขา สื่อสารกับแฟนๆ โดยตรงผ่านข้อความเช่นเดียวกับเพลง ต่างจาก ต้นสังกัดทั่วไปที่โดยปกติจะเป็นฝ่ายจัดการแอคเค้าท์โซเชียล ซึ่งนี่ เองที่เป็นช่องทางที่ทำให้ BTS ใกล้จะเป็นที่รู้จักทั่วโลก จาก ‘ช้อนดิน’ สู่การได้รับรางวัล ‘Top Social Artist’ เป็นการเดินทางที่ต่างจาก ใครๆ กว่าจะเดินมาถึงเส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ

วิธีการทำเพลงของพวกเขาก็ต่างจากไอดอลวงอื่นๆ โดยธรรมชาติ จุดเริ่มต้นมาจากโปรดิวเซอร์ Pdogg (คังฮโยวอน, 34 ปี) ที่ประธาน บังชีฮยอกเจอตัวผ่านเว็บอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ Pdogg ย้ายจากคิมแฮ ขึ้นมาอยู่ที่โซลในปี 2007 และทำงานให้กับนักดนตรีมากอารมณ์ อย่าง 8ight, อิมจองฮี, 2AM ฯลฯ เป็นหลัก หลังจากนั้นก็ได้พา RAPMONSTER มาที่บริษัทผ่านการรู้จักจาก Sleepy และ ‘ประวัติศาสตร์’ ก็ได้เริ่มต้นขึ้น ไม่ต้องสงสัยว่าการพบกันของโปรดิวเซอร์ที่มีรากฐานทางดนตรีจาก LA แม้จะเกิดที่ชางวอน กับเด็กฝึกมากความสามารถที่ถือกำเนิดมาจากวงการใต้ดินจะนำมาสู่ฮิปฮอป SUGA, J-HOPE และเมมเบอร์แต่ละคนที่เพิ่มเข้ามาแต่ละครั้งผ่านการออดิชั่นทั่วประเทศในภายหลัง ขอบเขตในด้านดนตรีที่พวกเขาสามารถรับมือได้ก็ยิ่งกว้างขึ้น

Pdogg ที่พวกเราพบที่สตูดิโอสังกัด Big Hit Entertainment ในโซลย่ายโนนฮยอนดงบอกว่า “ตัวตนในด้านดนตรีของ BTS มันสมบูรณ์ไประดับนึงตั้งแต่ผมเจอพวกเขาครั้งแรกแล้วครับ ผมเรียนเอกดนตรี ก็เลยเคยเรียนการทำความเข้าใจทฤษฎี แต่ผมให้พวกเขาทำงานไปกับผมในบรรยากาศการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันแทนที่จะสอนอย่างอาจารย์” เมมเบอร์ BTS ทุกคนที่ได้ลงมือแต่งเพลง ได้รับ ‘บทเรียนส่วนตัว’ แบบไหนไปกันถึงมาถึงตรงนี้ได้ Pdogg ร่วมทำเพลงของ BTS เกือบทุกเพลงตั้งแต่เพลงเดบิวต์ ’No More Dream’ มาจนถึงปัจจุบันในเพลงล่าสุดอย่าง ‘피 땀 눈물 (Blood Sweat & Tears)’ และ ‘봄날 (Spring Day)’

Q : คลาสเรียนดำเนินไปอย่างไร

A : พวกเราก็แค่มารวมตัวกันดูหนังกัน ฟังเพลงกัน อย่างเช่นดูหนังที่มีการแรพแบทเทิลที่คลับฮิปฮอปในดีทรอยท์เรื่อง ‘8 Mile’ พวกเราวิเคราะห์กันว่าเนื้อเพลงหยาบๆ เกิดขึ้นยังไง รวมถึงพูดคุยแลกเปลี่ยนกันตั้งแต่เรื่องแฟชั่นกระทั่งไลฟ์สไตล์ของฮิปฮอป พวกเราหาเพลงตัวอย่างเดิมที่ใช้ในหนังมาฟัง และให้การบ้านพวกเขากลับไปทำ

Q : เป็นการบ้านแบบไหน

A : อย่างที่ทราบกันว่า BTS เป็นวงที่มีเรื่องราวการเติบโตที่ชัดเจน ซึ่งการจะทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็นรูปเป็นร่างได้ในทางดนตรีนั้นต้องอาศัยการพูดคุยกันหลายครั้ง แม้แต่ละเพลงจะแตกต่างกัน แต่โดยปกติเราจะเริ่มจากการทำบีทที่เข้ากับหัวข้อของเนื้อเพลง เพราะถ้าหากบีทไม่เพราะก็จะทำเพลงต่อไปไม่ได้ เราแต่ละคนก็เลยจะไปเขียนทำนองกันมา ลองฟัง แล้วก็ปรับให้กันกับเพลง

Q : แบ่งสรรหน้าที่กันอย่างไร

A : อย่าง RAPMONSTER หรือ SUGA นั้นสามารถรับหน้าที่ได้ทุกอย่าง J-HOPE กับ JUNGKOOK จะรู้ว่าทำบีทยังไง ส่วนคนอื่นๆ ก็จะเขียนเนื้อเพลง ส่วนที่ผมทำหลักๆ ก็คือการทำแทรค และไปรวบรวมเนื้อเพลงหรือทำนองที่เมมเบอร์เขียนมาทำให้เสร็จสมบูรณ์ เนื้อเพลงเกินกว่า 90% พวกเขาเขียนกันเอง

Q : ต่างจากการทำงานคนเดียวมั้ย

A : การทำงานคนเดียว เราจะใส่ความรู้สึกของตัวเองลงทั้งหมด ในขณะเดียวกันก็จะปล่อยไปตามจริตของตัวเองได้ง่าย แต่ถ้าเทียบกันแล้ว การทำงานร่วมกันจะเป็นการค้นพบในสิ่งที่เราไม่สามารถคาดถึงได้อย่างต่อเนื่อง เรารวบรวมแต่สิ่งที่ดีที่สุดจากไอเดียของบรรดาคนที่มีความสามารถ เพราะฉะนั้นก็จะได้สิ่งที่ดีที่สุดออกมาใช่มั้ยล่ะ ในกรณีของเพลง ‘Spring Day’ ผมว่าเนื้อเพลงและเมโลดี้ที่ RAPMONSTER ใช้เวลาเขียน 2 วันมันเพราะมากๆ เลย ผมเสียดายกับความเรียบลื่นที่มีมากเกินไป แต่พอลองนำไปเชื่อมกับท่อนที่ได้รับมาจากโปรดิวเซอร์ต่างชาติดูแล้วเพลงกลับมีชีวิตขึ้นและทวีคูณความซาบซึ้งครับ

Q : ในฐานะโปรดิวเซอร์ คุณคิดว่ากุญแจสู่ความสำเร็จของ BTS คือ

A : ผมว่าการเล่าเรื่องของตัวเองคือสิ่งที่สำคัญที่สุด พวกเขาไม่เขียนเรื่องราวที่ตัวเองไม่รู้จัก เนื้อเพลงของเพลง ‘No More Dream’ อาจจะเด็กไปบ้างแต่มันคือความรู้สึกที่คนวัยเดียวกันรู้สึก เพลง ‘Move (이사)’ ในอัลบั้ม ‘화양연화 pt.1’ ก็เป็นเพลงที่มาจากการย้ายออกจากหอพักที่อยู่มา 3 ปีในชีวิตจริง แรงผลักดันที่ดีที่แต่ละคนได้รับก็เป็นข้อได้เปรียบเหมือนกัน อย่าง JIN เดิมทีเป็นนักร้อง ไม่ใช่คนเขียนเพลงแต่ก็ทำเพลงโซโล่จนเสร็จสมบูรณ์แม้จะอยู่ในช่วงที่งานยุ่ง ปกติถ้าโดนปฏิเสธงานเป็น 20 ครั้งเขาก็ยอมแพ้กันทั้งนั้น แต่ผมซาบซึ้งที่เขาไม่วางมือจนถึงตอนสุดท้าย

Q : มีช่วงวิกฤตมั้ย 

A : ทุกช่วงเป็นช่วงวิกฤต ตอนซีรี่ส์ไตรภาค ‘โรงเรียน’ จบลงและเปลี่ยนมาเป็นซีรี่ส์ ‘วัยรุ่น’ ผมกังวลมากเลยว่าจะใส่เรื่องราวการเติบโตกับการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีด้วยกันอย่างไร โชคดีที่เพลง ‘I NEED U’ ไปได้ดี ก็เลยเกิดเป็นแรงขับเคลื่อน แต่ตอนนั้นคิดเยอะเกินไปเลยไม่สามารถจบงานภายในเวลาได้ หลายๆ คนรอบตัวก็เคยพยายามที่จะให้เลิกทำเพลง ‘피 땀 눈물 (Blood Sweat & Tears)’ เหมือนกัน แต่มันเป็นช่วงที่แนว Moombahton Trap กำลังค่อยๆ มาทั่วโลก ทุกคนล้วนบอกแต่ว่าเพลงที่มีพื้นเป็น Reggae ไปได้ยากในเกาหลี หรือไม่ก็บอกว่ามันต่างจากฮิปฮอปที่ BTS เคยทำมาเกินไป แต่เราก็ยังยืนยันที่จะทำให้ได้ โชคดีจริงๆ ที่ผลลัพธ์มันออกมาดี

Pdogg ที่หลงรักฮิปฮอปหลังจากเรียนเอกดนตรีมาตั้งแต่สมัยมัธยมต้นและมัธยมปลาย “มันจะมีส่วนหนึ่งในศิลปะบริสุทธิ์ที่ต่อให้เรามีผลสวรรค์ 8 ใน 10 และใช้ความพยายามก็ไม่สามารถเอาชนะได้ ฮิปฮอปที่สามารถทำให้ใครก็ตามสามารถคล้อยตามได้ง่ายนั้นมีสเน่ห์ ต่างจากการร้องที่ต้องอาศัยการมีความรู้พื้นฐานมากเวลาฟังเพลง “เวลาผมเขียนเมโลดี้ไลน์ผมคิดว่าผมมีข้อได้เปรียบที่ผมสามารถทำให้ไลน์มีความเข้าถึงที่คลาสสิคมากขึ้นจากการใช้พวกไลน์รับส่ง แต่ PD บังชีฮยอกกลับมองว่าผมมีความลูกทุ่งแหม่งๆ อยู่ ก็คงเพราะไม่ได้เกิดและโตที่โซลละมั้งครับ? (หัวเราะ)”

วันที่ 21 (เวลาท้องถิ่น) วง The Chainsmokers ดูโอ้แนวเพลงอิเล็คโทรนิคระดับโลกที่ร่วมงานประกาศรางวัล Billboard อเมริกาด้วยกันนี้ได้เชิญ BTS ให้มาชมการซ้อมการแสดงของพวกเขาและมีเซอร์ไพรส์การพบกันของพวกเขาทั้งสองวง พวกเขาอัพรูปที่ถ่ายด้วยกันเป็นที่ระลึกลงทวิตเตอร์ โชว์ความชื่นชอบระหว่างกัน จากนี้ BTS จะไปแวะเวียนที่ไหนกันต่อ Pdogg ได้ใบ้เอาไว้ว่าช่วงนี้เขาติด Kendrick Lamar และ Drake มาก “ผมคงหน่ายกับเพลงที่มีอยู่เดิมเลยชอบเพลงชิลๆ ที่ทำให้สบายใจ ถึงจะวินเทจแต่ฟังแล้วรู้สึกสบาย ไม่นานมานี้ผมซื้อเครื่องดนตรีวินเทจแบบ Roland Juno-60 มา ผมหลงในความโดดเด่นของอนาล็อคที่มีความหยาบแต่ก็อบอุ่น ผมเลยคิดว่าซาวด์ของผมในอนาคตคงจะเปลี่ยนไปครับ”

ที่มา | Joong-ang Ilbo
แปลจากเกาหลีเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment