พรีเซ็นเตอร์

เหล่าผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย เทหมดหน้าตักดึงตัว BTS เป็นพรีเซ็นเตอร์

เป็นที่ทราบกันดีว่าการคว้าตัว BTS เป็นพรีเซ็นเตอร์ ถือเป็นโอกาสทองที่จะการันตีทั้งยอดขาย, ความตื่นตัว และภาพลักษณ์ของแบรนด์

ค่าตัวของ BTS ในการเป็นพรีเซ็นเตอร์ เป็นที่รับทราบต่อบุคคลภายนอกที่ราว 3-5 พันล้านวอน แต่เหล่าผู้ประกอบการถึงกับต้องขบเขี้ยวเคี้ยวฟันเพราะไม่สามารถดึงตัวพวกเขามาเซ็นสัญญาได้ แม้แต่ข่าวคราวที่ FILA ใช้คอนเน็กชั่นภายในเพื่อดึงตัว BTS มาเซ็นสัญญากันจริงจัง หรือข่าวคราวที่ Bodyfriend ทุ่มสุดตัวในการนำเสนออัตราการเติบโตและกระบวนการของบริษัทอยู่ร่วมปีเพื่อโน้มน้าวให้ Big Hit เซ็นสัญญา ก็เป็นเรื่องโด่งดังในหมู่แฟนคลับเช่นกัน

◆ “ตั้งแต่บัตรโดยสาร ยันเก้าอี้นวด” ยอดขายจากแฟนคลับหลายช่วงอายุ ‘พุ่งพรวด’ 

ปัจจุบัน ธุรกิจที่แต่งตั้ง BTS เป็นพรีเซ็นเตอร์ มีทั้งหมด 8 บริษัท ได้แก่ ฮุนได มอเตอร์ส, ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ (กาแลคซี่), FILA, ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม Lotte Chilsung (Chilsung Cider), Kyungnam Pharm (วิตามิน เลโมน่า), ธนาคาร KB คุงมิน, ห้างสรรพสินค้า Lotte และเก้าอี้นวดไฟฟ้า Bodyfriend โดยหากนับโฆษณาคอลแล็บต่างๆ ด้วย ตัวเลขก็จะยิ่งสูงขึ้น

BTS เป็นพรีเซ็นเตอร์
ธุรกิจที่แต่งตั้ง BTS เป็นพรีเซ็นเตอร์

สาเหตุแรกที่ BTS ได้รับการเรียกตัว แน่นอนว่าเป็นการการันตียอดขายที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ BTS ที่มีข้อได้เปรียบตรงที่ช่วงอายุของ ‘อาร์มี่ (ARMY)’ แฟนคลับ BTS มีตั้งแต่วัย 10-59 ปี ทำให้ไม่มีข้อจำกัดของเงินบริโภค

ยกตัวอย่างเช่น สมาร์ทโฟนซัมซุงเอดิชั่นพิเศษ ‘Galaxy S20+ BTS Edition & Buds+ BTS Edition’ ในราคา 1.584 ล้านวอน ก็หมดเกลี้ยงภายใน 1 ชั่วโมงหลังวางจำหน่ายออนไลน์เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. ที่ผ่านมา แม้กระทั่งเก้าอี้นวดไฟฟ้า Bodyfriend ที่ราคาสูงกว่านั้นก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า โดยยอดขายประจำเดือนพฤษภาคมของ Bodyfriend พุ่งสูงถึง 5.76 หมื่นล้านวอน นับเป็นผลประกอบการสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเลยทีเดียว

นอกเหนือจากนั้น โฆษณาที่ BTS เป็นพรีเซ็นเตอร์หรือสินค้าที่คอลแล็บกับ BTS ล้วนประสบความสำเร็จเกินกว่าที่คาดการณ์ทุกครั้ง บัตรโดยสาร ‘BTS T-Money’ ที่วางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ CU ซึ่งเปิดตัวเจาะกลุ่มตลาดวัย 10-19 และ 20-29 ปี ก็เป็นที่นิยมอย่างมากถึงขั้นเกิดปรากฏการณ์สินค้าขาดสต็อกทุกครั้ง หรืออย่างงานคอลแล็บกับแบรนด์เสื้อผ้า The Handsome (SYSTEM) เองก็ขายหมดเกลี้ยงตั้งแต่ช่วงเปิดสั่งจองล่วงหน้า

◆ “ฉายโฆษณาให้ผู้ชมพร้อมกัน 7.5 แสนราย” สร้างความนิยมระดับโลก ยันความตื่นตัวต่อแบรนด์ ‘ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว’

ข้อดีของการเซ็นสัญญาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้แก่แบรนด์ในประเทศ คือการทำให้ผู้คนในต่างประเทศตื่นตัวแบรนด์จากในประเทศ​ (เกาหลี) เพราะมันเป็นคือสิ่งที่เป็นไปได้ด้วยเชื้อชาติของอาร์มี่ที่หลากหลายพอๆ กับช่วงอายุ 

บริษัทยา Kyungnam Pharm สร้างความตื่นตัวมากขึ้นโดยปริยาย อาศัยความนิยมระดับโลกของ BTS  ด้วยการเปิดร้านค้าในตลาดอเมริกาบน Amazon และตลาดจีนบน Taobao เพื่อจำหน่ายแพคเกจ ‘BTS x Lemona’ ส่วน FILA ได้ประโยชน์จาก BTS อย่างแข็งขันในแง่องค์กร หลังจากเซ็นสัญญากับ BTS แล้ว FILA ได้ทำการเปิดแอคเคาต์ทวิตเตอร์ FILA Korea (@fila_korea) เพื่อ ‘โปรโมต FILA’ ผลตอบรับที่ได้นั้นสมน้ำสมเนื้อ ด้วยความที่ช่องทางการสื่อสารช่องทางแรกของ BTS คือทวิตเตอร์ อาร์มี่จำนวนมากจึงติดตาม FILA โดยปัจจุบันแอคเคาต์ FILA Korea (@fila_korea) มีผู้ติดตามทะลุ 3.3 แสนแอคเคาต์หลังจากผ่านไปเพียง 7 เดือน

คอนเสิร์ต BTS ออนไลน์ ‘BANGBANGCON The Live’ ที่จัดขึ้นก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ก็ถือเป็นโอกาสที่ดี ในคอนเสิร์ตนี้มีการเผยแพร่สินค้า Chilsung Cider, FILA, Lemona และ Galaxy S20+ ที่ BTS เป็นพรีเซ็นเตอร์ รวมถึงแบรนด์เสื้อผ้า SYSTEM ที่คอลแล็บกับ BTS ให้ได้เห็นโดยตรง โดยมีผู้ชมคอนเสิร์ตพร้อมกันถึง 7.56 แสนราย พูดง่ายๆ ก็คือการเผยแพร่โฆษณาให้ผู้คน 7.5 แสนรายได้เห็นพร้อมกันในคราวเดียวนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ผู้เกี่ยวข้องในวงการรายหนึ่งเผย “แม้ว่าค่าตัวของ BTS จะสูงที่สุดในวงการ แต่ระลอกคลื่นที่ตามมามันเป็นสิ่งที่เหนือจินตนาการ มันคือโอกาสที่แบรนด์ที่ตั้งเป้าที่จะตีตลาดต่างประเทศ จะสร้างความตื่นตัวต่อแบรนด์อย่างมโหฬารในเวลาอันสั้น ในประเทศเกาหลี ต่อให้มิใช่แฟนคลับของ BTS แต่ตัว BTS เองก็มีภาพลักษณ์ในเชิงบวกอยู่แล้ว อิทธิพลที่จะยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์จึงมีสูงมากนั่นเอง”

ที่มา | Newspim
แปลจากเกาหลีเป็นไทยโดย CANDYCLOVER.COM

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment