ศิลปินระดับโลก

BTS ยังไม่ได้รับการประเมินค่าอย่างเป็นธรรม

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา BTS ศิลปินระดับโลก ปล่อยคลิปวิดีโอ ‘บังทันกินเลี้ยง’ ทางชาแนล YouTube ออฟฟิเชียล ‘BANGTANTV’ เผยความในใจในโอกาสเดบิวต์ครบรอบ 9 ปี และหวนระลึกถึงกิจกรรมที่ผ่านมา 

BTS ทั้งเอ่ยถึงแผนการของพวกเขาในอนาคตเพื่อ เดินหน้าสู่ ‘บทที่ 2’ รวมถึงเผยถึงความตั้งใจที่จะเพลาจากกิจกรรมของวงลงชั่วคราว และเน้นงานเดี่ยวของแต่ละเมมเบอร์มากขึ้น

การสิ้นสุดลงของ ‘บทที่ 1’ ของ BTS ศิลปินระดับโลก นั้น แน่นอนว่าเป็นที่สนใจอย่างมาก ซึ่งท่ามกลางสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ก็มีเรื่องราวที่กวนใจผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องนี้อยู่ด้วย 

สำหรับผู้เขียนที่เป็นคนนอกและไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับวงอย่างสิ้นเชิงนั้น ‘บทที่ 1 ของ BTS’ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า “การได้รับการประเมินค่าอย่าง ‘ชอบธรรม’ จากผู้คนนั้นเป็นเรื่องยากขนาดไหน”

ณ ตอนที่ BTS เดบิวต์ พวกเขาเคยถูกกระแนะกระแหนและเหยียดหยามว่า “ชื่อวงไอดอลชื่อ บังทันโซนยอนดัน (BTS) ได้ยังไง” และราว ๆ ปี 2016 ที่พวกเขามีแฟนคลับก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างไม่ต่างไปจากศิลปินระดับท็อปในแวดวง K-Pop ไอดอลไปแล้วนั้น พวกเขาก็ยังเป็นวงที่ได้ยินคำดูถูกจากผู้คนว่า “ได้ยินว่าแฟนคลับเยอะนะ แต่ไม่เห็นจะรู้จักคนในวงหรือเพลงของวงเลย” แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง พวกเขาก็กลายเป็นวงที่ก้าวข้ามระดับความสนใจที่ผู้คนมีต่อวงไอดอลทั่วไป ทั้งการที่ผู้คนพ่วงคำว่า ‘ไอดอลตัวแทนประเทศ’ นำหน้าชื่อ และแวดวงการเมืองที่พยายามสร้างประเด็นด้วยการเอ่ยถึงชื่อ BTS

มีหลายกรณีที่ทั้งคนดังและผู้คนทั่วไปรู้สึกว่า ‘ถึงคราวที่ตัวเองไม่เป็นตัวเอง’ เมื่อเข้าสู่ตลาด นับประสาอะไรกับ BTS ที่เติบโตจากไอดอลจากสังกัดขนาดเล็ก-กลาง สู่ไอดอล K-Pop ระดับตำนาน การตีความ และความสนใจที่ต่อพวกเขาจึงสุดขั้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แม้สิ่งที่ผู้คนถกเถียงกันไปมาเกี่ยวกับ BTS จะไปถึงขั้นระดับโลก อีกทั้งยังมีส่วนที่ยังต้องหยิบยกมาพูดคุย แต่ในขณะเดียวกันก็มีส่วนที่ไม่จำเป็นต้องหยิบยกมาพูดคุยขนาดนั้น ผู้เขียนจึงขอเสริมเอาไว้ในบทความนี้

สิ่งที่ผู้เขียนจะพูดนั้นเรียบง่าย นั่นก็คือ

“BTS คือวงที่ได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวง ด้วยการส่งไม้ต่อที่ได้รับมาจาก ไอดอลเจนฯ 2 สู่ไอดอลเจนฯ 4 นั่นเอง”

สิ่งเหล่านี้เป็นไปในสองแง่มุม ประการแรก BTS ได้ตอบสิ่งที่ถูกถามอยู่ตลอดในยุคของ ไอดอลเจนฯ 1-2 ว่า “เพลงเกาหลีจะได้รับการยอมรับในตะวันตกได้หรือไม่” แล้วว่า “ได้” หากเพลง ‘Gangnam Style’ ของ Psy แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้แล้วล่ะก็ BTS พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า กระทั่ง ‘การสร้างกลุ่มแฟนคลับอย่างมีนัยสำคัญ’ ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และการประการที่สอง พวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงกระแส K-Pop ไอดอลให้ดำเนินต่อไปในยุคโควิด แต่กลับทำให้กระแส K-Pop พุ่งทะยานก็ว่าได้

หลายครั้งที่ผมจินตนาการถึงโลก K-Pop คู่ขนานที่ไม่มี ‘แบรนด์ของคอนเทนต์วงไอดอล K-Pop ที่พุ่งทะยาน’ นำโดยวงไอดอลระดับท็อปอย่าง BTS ซึ่งในมุมมองของผู้ที่คลั่งไคล้ K-Pop นั้น ช่างเป็นโลกที่ ‘น่าสยอง’ อย่างไม่เกินจริงเลยสักนิด

วิธีทำเงินของวงไอดอล K-Pop ไม่ว่าจะเป็นวงเพศไหนหรือมีทิศทางอย่างไร ได้ข้อสรุป (โดยรวม) ว่าเป็น ‘การเพิ่มอีเวนต์ออฟไลน์’ เกิร์ลกรุ๊ปสายอีเวนต์ ก็จะออกอีเวนต์ต่าง ๆ ในประเทศมากหน่อย ส่วนวงที่ฐานแฟนคลับแน่นและมีกระแสตอบรับในต่างประเทศดี ก็จะหาเงินและเติบโตด้วยการออกทัวร์คอนเสิร์ตในต่างประเทศ (ซึ่งเป็นอีเวนต์ออฟไลน์) มากหน่อย

ทางตรงที่สุดที่จะทำให้ไอดอลที่ไม่เป็นที่รู้จักและขาดฐานแฟนคลับ กลายเป็นที่รู้จักและดึงดูดแฟนคลับได้มากขึ้นคือ การทำให้เห็นหน้าค่าตาบ่อย ๆ นั่นเอง เช่น การให้แฟนคลับเข้าไปเชียร์ในรายการเพลงของสถานีโทรทัศน์, การจัดมินิแฟนมีตติ้งข้างทางก่อนและหลังรายการเพลง, การจัดแฟนไซน์ในโอกาสเปิดตัวอัลบั้ม, การจัดแฟนมีตติ้งพบปะแฟน ๆ ในต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่คอนเสิร์ต), การจัดอีเวนต์ ‘พบปะกลุ่มเป้าหมายที่มีแววจะโดนตก’ ทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้นได้มาฟังเพลง, ซื้ออัลบั้ม, มาคอนเสิร์ต และซื้อสินค้าในคอนเสิร์ตนั่นเอง จวบจนยุคไอดอลเจนฯ 3 การเติบโตของธุรกิจวงไอดอล K-Pop ไม่ได้หลุดไปจากเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้นมากนัก แต่ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้ก็หยุดชะงักลงอย่างไม่มีข้อแม้ เพราะสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก

ในเวลานี้ หากไม่มีวงใดอย่าง BTS ที่สร้างอีเวนต์ต่าง ๆ ที่วงไอดอล K-Pop ไม่เคยคิดว่าน่าจะได้ทำ, ไม่มีวงที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจเสมือนจริงทางออนไลน์, ไม่มีวงที่ทำให้คาดคะเนได้ว่าจะมีอุปสงค์ต่อ K-Pop เพิ่มขึ้นอย่างใหญ่หลวงหลังยุค COVID-19 แล้วล่ะก็ ‘มูลค่าการลงทุน’ ของคอนเทนต์วงไอดอล K-Pop จะไม่มีทางเป็นอย่างทุกวันนี้อย่างแน่นอน

เนื้อหาข้างต้นสอดคล้องกับส่วนที่สุดขั้วส่วนหนึ่งในอิทธิพลที่ BTS มีต่อคอนเทนต์วงไอดอล K-Pop บทความนี้มีมุมมองว่า ‘ส่วนที่สุดขั้วส่วนหนึ่ง’ นี้เป็นสิ่งที่ ‘ยากที่จะมองเห็น’ เพราะไม่ได้รับการประเมินค่าอย่างเหมาะสม ‘ทั้ง ๆ ที่เป็นวงใหญ่ที่ผู้คนให้ความสนใจขนาดนี้’ ยิ่งพวกเขาถูกกล่าวถึงและมีผู้คนสนใจมากขึ้นเท่าไหร่ ทั้งคำวิจารณ์และคำยกย่องก็ยิ่งกลวง ซึ่งผมเองก็คิดว่า BTS กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นเช่นกัน

เมื่อพิจารณาจากเพลาจากกิจกรรมทั้งวงชั่วคราวแล้ว จุดที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกทึ่งจึงค่อนข้างเป็นเรื่องอื่น ประการแรกที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกทึ่งคือ แม้พวกเขาจะเพลาจากกิจกรรมทั้งวง แต่พวกเขาก็ยังมีตารางงานร่วมกันทั้งวงอีกเยอะมาก รวมถึงความตั้งใจที่จะถ่ายทำคอนเทนต์ ‘Run BTS’ ของพวกเขาเองต่อไป ประการที่สองคือ พวกเขาไม่ได้หยุดพักผ่อนโดยสิ้นเชิง แต่กลับเตรียมอัลบั้มเดี่ยวของแต่ละเมมเบอร์

ผู้เขียนไม่ใช่เป็นแม้กระทั่ง BTS หรือเป็นอาร์มี่ แต่เมื่อเฝ้าดูจากมุมมองของคนนอกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ผู้เขียนรู้สึกเลยว่า ความสามารถของ BTS ในการ ‘แบ่งเวลาแต่งเพลง’ นั้นน่าพิศวง ผมคุ้นเคยดีว่าความสามารถของวงไอดอล K-Pop ที่มีฝีไม้ลายมือขึ้นมาถึงระดับหนึ่งนั้น มีความสามารถในการแบ่งเวลาเพื่อแต่งเพลงอย่างมาก แต่ผมก็มองว่าความสามารถของ BTS นั้นพิเศษอยู่ดี

ผมไม่ได้พูดแบบนี้เพียงเพราะพวกเขาเป็นวงไอดอลระดับเวิลด์คลาส แต่ผมสงสัยเลยว่าพวกเขา ‘ในฐานะคนธรรมดาทั่วไป’ ใช้เวลาแบบนั้นได้อย่างไร ผมเห็นพวกเขาทำทั้ง A, B และ C มากี่ครั้งแล้วก็ไม่รู้ แต่ไม่ทันไรพวกเขาก็มีอัลบั้มใหม่ปล่อยออกมา

ผมเข้าใจอยู่พอตัวว่าการเป็นวงระดับนี้ทำให้พวกเขาเหนื่อยล้าทั้งกายและใจ แต่ผมยิ่งรู้สึกทึ่งที่พวกเขาเอ่ยถึง ‘แผนงานต่อไป’ แม้แต่ตอนที่บอกว่าจะเพลางานทั้งวงลงชั่วคราว เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้มีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ในวงการไอดอล K-Pop และยิ่งถ้าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างแง่ลบกับแง่บวก การเลือกกดปุ่ม ‘แง่บวก’ ก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่ากว่า

ผมเคยบอกไว้แล้วว่าประโยค “ไหน ๆ ก็ไปได้ดี เพราะฉะนั้นก็ไปด้วยกัน” ที่ผมเขียนในบทความ “ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอันน่ามหัศจรรย์ของ BTS” นั้นเป็นประโยคที่ทำให้เห็นถึงตัวอย่างค้าน (Counter-example) หลายตัวอย่าง เมื่อมองย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ของวงการ K-Pop

ตัวอย่างค้านที่ว่านั้น ได้แก่ วงที่กำลังไปได้ดีแต่แตกกันเพราะความไม่ลงรอยในหมู่เมมเบอร์, วงที่กำลังไปได้ดีแต่แตกกันเพราะต้นสังกัด, วงที่ความสำเร็จของวงนำไปสู่การเน้นกิจกรรมเดี่ยวของเมมเบอร์ จนทำให้ทั้งวงไม่มีชื่อ, วงที่แตกเพราะเมมเบอร์พยายามจะครอบครองผลที่ได้มาจากงานของวงไว้คนเดียว เป็นต้น

นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้ว ผู้ที่คลั่งไคล้ใน K-Pop ก็ได้เขียนไว้ในบทความดังกล่าว ถึงกรณีตัวอย่างที่เห็นมาเป็นระยะเวลานานด้วยว่า “ความสำเร็จในปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่จะต่อยอดไปสู่ความยั่งยืนของวง”

ผมจึงเข้าใจเลยว่า เรื่องราวต่าง ๆ ที่ BTS เปิดเผยออกมาในครั้งนี้ (โดยเฉพาะสิ่งที่ RM กล่าว) นั้น ผ่านการไตร่ตรองมามากขนาดไหน เขาย่อมรู้ดีว่าเรื่องราวรอบตัวพวกเขาไม่ค่อยใกล้เคียงคำว่า ‘เข้าใจ’ เท่าไรนัก เรื่องราวที่ห่างไกลจากคำว่า ‘เข้าใจ’ จึงพรั่งพรูสู่โลกอย่างที่คาดไว้

ด้วยเหตุนี้ บทความนี้จึงมีชื่อว่า “BTS ยังไม่ได้รับการประเมินค่าอย่างเป็นธรรม” นั่นเอง

ที่มา | XportsNews
แปลและเรียบเรียงจากเกาหลีเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment