เพลง Disco

เพลง Disco ของ BTS และ TOMORROW X TOGETHER

ในบางกรณี เราจะเห็นได้ว่าวัฒนธรรม K-Pop นำแนวเพลงประเภทใดประหนึ่งมาใช้ในระดับผิวเผินผ่านแฟชั่นและท่วงท่าการเคลื่อนไหวร่างกาย หากให้หยิบยกแนวเพลงที่ตกเป็นเครื่องมือมากที่สุดก็เห็นจะเป็น เพลง Heavy Metal และ เพลง Disco แต่ระหว่างแนวเพลงทั้งสองนี้ก็มีความแตกต่างกันอยู่ ในขณะที่ Heavy Metal ตกเป็นเป้าของการเสียดสีโดยสื่อในประเทศอยู่บ่อยครั้ง และไม่มีทางก้าวเข้าสู่ยุคนี้ได้ในเร็วๆ นี้ กลับกัน เพลง Disco ในวงการ K-Pop เป็นหนึ่งในสไตล์หลักที่หวนกลับมาเมื่อถึงเวลาอันสมควร โดยส่วนใหญ่ก็มักจะนำร่องด้วยสโลแกน ‘ย้อนยุค’ และใช้ ‘Disco’ เป็นตัวลงรายละเอียด แต่ด้วยแนวทางที่สืบทอดซ้ำไปซ้ำมานับครั้งไม่ถ้วนในยุค 70-90 ก็มาถึงจุดที่กระอักกระอ่วนที่จะเรียกว่า ‘ย้อนยุค’ หากตอนนี้ Disco จะไปไม่รอดนั่นก็คงเป็นเพราะไม่สามาถจับจุดความกระอักกระอ่วนนั้นได้นั่นเอง และด้วยความบังเอิญในจุดที่ไม่สามารถจำกัดความได้เพียงพอด้วยคำว่า ‘ย้อนยุค’ เพียงคำเดียว K-Pop ก็ได้กลายเป็นกระแสที่มีความสำคัญต่อตลาดเพลงระดับโลก นี่คือสาเหตุที่จะได้เพ่งเล็งถึง เพลง Disco ของ Big Hit ตั้งแต่ ‘Dynamite’ โดย BTS ต่อเนื่องมาจนถึง ‘Blue Hour’ โดย TOMORROW X TOGETHER ในบริบทที่แตกต่างออกไป

เนื้อเพลง Dynamite
BTS เพลง Dynamite

หากสรุปประวัติความเป็นมาของ Disco ด้วยภาพยนตร์ ‘Saturday Night Fever’ ไปจนถึง ‘ค่ำคืนแห่งการต่อต้านแนวเพลง Disco (Disco Demolition Night)’ เรียกได้ว่าหลังจากแนวเพลงนี้ประสบความสำเร็จ ก็ได้ผ่านช่วงที่ผลิตแนวเพลงของตัวเองซ้ำเดิม และกลายเป็นเป้าของความเกลียดชังจากคนบางกลุ่ม จนล่มสลายไปในที่สุด สำหรับผู้บุกเบิกแนวเพลงนี้ Disco เป็นเสมือนเครื่องมือในการต่อต้าน และเป็นเพลงสรรเสริญต่อความหลากหลาย และสิทธิความชอบธรรมของคนกลุ่มน้อย ในคลับช่วงต้นยุค 70 เหล่า DJ ผสมผสาน American Funk, จังหวะ Latin, Electronica จากฝั่งยุโรป และทำให้ฟลอร์เต้นรำเอ่อล้นไปด้วยถ้อยคำบอกรักกันและกัน เวทีเต้นรำไม่ใช่พื้นที่สำหรับคู่รักอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นพื้นที่ให้คนนับร้อยได้แบ่งปันความสนุกร่วมกัน เมื่อ Disco มีคุณค่าที่ก้าวข้ามเรื่องเพศ, เชื้อชาติ และชนชั้น จนกลายเป็นเพลงแดนซ์ที่ไร้พิษภัย ‘ค่ำคืนแห่งการต่อต้านแนวเพลง Disco’ ที่อดีต DJ รายการวิทยุที่เปิดเพลง Rock และเผาแผ่นเพลง Disco ในสนามเบสบอลจึงกลายเป็นเหตุการณ์เชิงสัญลักษณ์ที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นพรหมลิขิต แม้ Disco จะล่มสลายแต่วัฒนธรรมในคลับก็ยังคงอยู่ ส่วน Disco จะเปิดโอกาสแก่ศิลปินผิวดำ, ละติน, อิตาเลียน, หญิง หรือเกย์ ได้อย่างไรนั้น พวกที่อยู่นอกคลับจะเป็นผู้ที่เผยให้เห็นเอง

ดังนั้นการจะกล่าวว่าการหวนกลับมาของ Disco ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผู้คนตั้งความหวังเอาไว้ หากแต่เป็นเรื่องจำเป็นในยุคที่ความเกลียดชังและการต่อต้านอัตลักษณ์ที่หลากหลายกลายเป็นประเด็นไปทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ Disco ในยุคที่ความขัดแย้งในด้านเชื้อชาติ, ชนชั้น, เพศสภาพ ฯลฯ ปะทุขึ้นนั้นไม่ใช่ ‘การย้อนยุค’ หากแต่กำลังดำเนินไปข้างหน้าในขณะนี้นั่นเอง หากความสำเร็จของแนวเพลง Pop ในอเมริกาไม่ต่างอะไรจากการประสบความสำเร็จในตลาดเพลงระดับโลก เส้นทางนั้นก็คับแคบเกินไปสำหรับบอยแบนด์จากเอเชีย บอยแบนด์ในวงการ K-Pop มีความขัดแย้งกับภาพลักษณ์ความเป็นชายที่วัฒนธรรมอเมริกาใฝ่หาอย่างสิ้นเชิง แต่ BTS ก็ทำให้เส้นทางนั้นกว้างขวางขึ้น สิ่งที่พวกเขาทำมีความหมายมากกว่าการเพิ่มตัวเลือกของความเป็นตะวันออกเข้าไปในมิติของความหลากหลาย ในประเทศที่มีอคติและการเลือกปฏิบัติต่อบอยแบนด์, กลุ่มชาติพันธุ์ และทางเลือกความเป็นชาย การที่ BTS ทำเพลงภาษาอังกฤษเพลงแรกอย่าง ‘Dynamite’ เป็นแนว Disco จึงมีคุณค่าทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์วงการเพลง Pop ในอเมริกา และในแง่บริบททางสังคม ยิ่งหากเป็นเพลงที่พรรณนาให้เห็นถึงความสนุกสนานในชีวิตประจำวันที่มีชีวิตชีวาในยุคนี้ ก็ยิ่งมากขึ้นไปอีกเท่าตัว แม้ ‘Blue Hour’ โดย TOMORROW X TOGETHER จะนำแนว Disco มาเป็นแนวทางในการนำเสนอคอนเซ็ปต์ความสดใสของบอยแบนด์ แต่ความจริงแล้วเพลงนี้ขับร้องเกี่ยวกับความสุขในช่วงเวลาพิเศษที่เกิดขึ้นที่ไหนสักแห่งระหว่างโลกความเป็นจริงและโลกใบอื่น หากพิจารณาในแง่ของชีวิตประจำวันของวัยรุ่นวัยทีนที่เปลี่ยนไปเพราะสถานการณ์ COVID-19 ผ่านเพลง ‘We Lost The Summer’ และ ‘Way Home’ ในอัลบั้ม ‘minisode1 : Blue Hour’ ก็จะพบว่าบริบทใหม่ๆ เกิดขึ้นในบทเพลงเหล่านี้เช่นกัน เมื่อเหล่าวัยทีนผู้ถูกช่วงชิงเอาชีวิตประจำวันไปเพราะสถานการณ์ COVID-19 ขับร้องถึงความสุขชั่วคราว แนว Disco จึงเกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อบอยแบนด์มาบรรจบกับแนว Disco และเป็นคำตอบที่ว่าเหตุใด Disco จึงได้กลายเป็นอีกหนึ่งแนวเพลงแห่งการเฉลิมฉลองในยุคนี้นั่นเอง

เพลง Disco
TXT เพลง Blue Hour จากอัลบั้ม ‘minisode1 : Blue Hour’

หากจะมองว่าพลังบวกของ BTS และความสดใสของ TOMORROW X TOGETHER ทำหน้าที่เป็นตัวถ่วงดุลย์ต่อลักษณะที่โจ่งแจ้งบางอย่างของแนวเพลง Pop อเมริกันก็เป็นเรื่องที่ถูก แต่หากสารสำคัญมีอยู่แค่นั้น จะต่างอะไรกับการที่พูดว่าความสมบูรณ์พูนพร้อมไร้ความกังวลใดๆ ที่ไม่ต้องให้ ‘ผู้ปกครองแนะนำ’ คือแรงขับเคลื่อนของความนิยม? พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือผู้คนอาจมองหาเพลงฟีลกู้ดในยุคที่เกิดโรคระบาดกว่าที่ร้ายแรงกว่าที่ใครๆ จะคาดคิดอ้างอิงจากบทสัมภาษณ์ของ Ian Kirkpatrick โปรดิวเซอร์เพลง ‘Don’t Start Now’ โดย Dua Lipa ผ่านนิตยสาร Nylon เขากับเพื่อนร่วมงาน Caroline Ailin และ Emily Warren พบเห็นลูกค้าผิวขาวในเสื้อลายสก็อตที่บาร์แห่งหนึ่งย่านชานเมืองในอเมริกากำลังเต้นเพลง Y.M.C.A1 พวกเขาเผยว่า ไม่ได้มีแพลนจะทำเพลง Disco ซึ่งจะเรียกว่าเป็นการถ่อมตัวก็ไม่ถูกนัก เรียกได้ว่าเป็นความมั่นใจของศิลปินแนว Pop ที่มองเห็นถึงความต้องการของยุคนี้อย่างไร้อคติใดๆ ก็จะใกล้เคียงมากกว่า นี่แหละคือช่วงที่ Disco เป็นที่ต้องการ

ไม่มีทางจะรู้ได้ว่า Big Hit จงใจทำเพลงแนว Disco ออกมามากน้อยขนาดไหน พูดได้เพียงว่าความสนุกสนานเร้าใจนี้มีความสดใหม่และอัดแน่นต่างจากที่ K-Pop เคยมีมา Disco นี้หวนกลับไปสู่ค่ำคืนเมื่อ 30 ปีก่อนที่เหล่า ‘ชายผิวขาว’ ทำให้ Disco โชดช่วงเพื่อฟื้นฟูพลังของตัวเองให้กลับคืนมา

ที่มา | Weverse Magazine
แปลจากเกาหลีเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

1 Y.M.C.A เพลง Disco ในตำนานของศิลปินวง Village People

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment