เมื่อ BTS สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจเชิงบวกจากคอนเสิร์ตในกรุงโซลราว 1 ล้านล้านวอน

จากงานวิจัย ‘ผลกระทบทางเศรษฐกิจเชิงบวกจากอีเวนท์ของ BTS: โซลไฟนอลคอนเสิร์ต ประจำปี 2019’ โดยทีมคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจของศาสตราจารย์ พยอนจูฮยอน จากมหาวิทยาลัยโครยอ (Korea University) มีการรายงานว่า คอนเสิร์ต Love Yourself: Speak Yourself [The Final] ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-27 และ 29 เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ที่สนามกีฬาชัมชิลโอลิมปิก ในกรุงโซล โดย BTS สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจเชิงบวก ทางตรงและทางอ้อมมูลค่าราว 9.229 แสนล้านวอน (หรือประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท)

BTS ทัวร์คอนเสิร์ตตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาเป็นเวลา 6 เดือนทั่วโลก ได้แก่ อเมริกา, อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย และตะวันออกกลาง คอนเสิร์ตปิดฉากที่กรุงโซลถูกจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน และมีผู้ชมราว 130,000 คน

ทีมคณาจารย์ของศจ. พยอน ได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจทางตรงและทางอ้อมอยู่ที่ 3.307 แสนล้านวอน และ 5.992 แสนล้านวอนตามลำดับ โดยผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในปีนี้จะอยู่ที่ 2.641 แสนล้านวอน และในอีก 5 ปีอยู่ที่ 3.281 แสนล้านวอน

หากพิจารณาจากเกณฑ์ที่ว่า ‘บริษัทขนาดกลาง’ มีรายได้โดยเฉลี่ย 3 ปีอยู่ที่ 1.5 แสนล้านวอนหรือมากกว่านั้น ผลกระทบทางเศรษฐกิจเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากคอนเสิร์ตทั้ง 3 วันของ BTS เปรียบเทียบได้กับรายได้ต่อปีของบริษัทขนาดกลาง 6 แห่งรวมกันเลยทีเดียว

ผลกระทบทางเศรษฐกิจทางตรง คาดคะเนโดยคำนวณรายได้ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการจัดคอนเสิร์ตรวมกัน ได้แก่ ค่าบัตรคอนเสิร์ต, ค่าเช่าโรงภาพยตร์สำหรับถ่ายทอดสด, ค่าถ่ายทอดสดทาง VLive, ค่าเช่าสถานที่จัดคอนเสิร์ต, ค่าติดตั้งอุปกรณ์สำหรับจัดคอนเสิร์ต, ค่าจ้างแรงงานแต่ละส่วน, ค่าใช้จ่ายของผู้ชมจากการพักแรมและเดินทาง, ค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยว เป็นต้น

ในขณะที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจทางอ้อม เกิดจากการที่รายได้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นชั่วคราว จากผลกระทบของอัตราการบริโภคที่เพิ่มขึ้น, ผลกระทบจากการกระจายตัวของการผลิตและมูลค่าเพิ่มจากการผลิต, ผลกระทบจากการที่ผู้ชมต่างชาติกลับมาเยือนประเทศเกาหลีอีกครั้ง เป็นต้น 

ทีมคณาจารย์ของศจ. พยอน ทำการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการที่ชาวต่างชาติเดินทางมาประเทศเกาหลี และได้ทำการสำรวจชาวต่างชาติที่มาคอนเสิร์ตดังกล่าวจำนวน 356 คน ถึงจำนวนวันที่พักแรมในโซล, ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว, ค่าใช้จ่ายของผู้ติดตาม และความตั้งใจในการกลับมาที่โซล

จากผลสำรวจพบว่ามีชาวต่างชาติหลั่งไหลมาที่คอนเสิร์ตรวมทั้งสิ้นราว 187,000 คน โดยเป็นชาวต่างชาติที่เดินทางมาดูคอนเสิร์ตด้วยตนเองราว 23,000 คน และชาวต่างชาติที่มีผู้ติดตามโดยเฉลี่ยที่ 1 : 3.28 คน รวมแล้วราว 100,000 คน นอกจากนั้นยังมีชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศเกาหลีเพราะได้รับอิทธิพลจากการโปรโมทคอนเสิร์ตของ BTS ที่จัดขึ้นในประเทศเกาหลีอีกราว 87,000 คน 

กล่าวได้ว่าคอนเสิร์ต BTS ดึงดูดชาวต่างชาติมายังประเทศเกาหลีถึง 67% ของชาวต่างชาติ 280,000 คน ที่เดินทางมาประเทศเกาหลีเมื่อครั้งงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองพยองชัง ปี 2018

นอกจากนั้นทีมคณาจารย์ของศจ. พยอน ยังได้ทำการสืบเสาะถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มองไม่เห็นด้วยเช่นกัน จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้คำตอบว่า หลังจากที่มาเป็นแฟนคลับ BTS พวกเขามีความสนใจในประเทศเกาหลี เช่น การเรียนภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี มีชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่อยากมาศึกษาและหางานทำในประเทศเกาหลี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสร้างอิทธิพลที่จะดึงดูดผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์มาสู่ประเทศเกาหลีนั่นเอง

ที่มา | Maeil Economics
แปลจากเกาหลีเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment