แนวทางการตัดสินใจที่ทำให้ Big Hit เป็น Big Hit ทุกวันนี้

ปัจจุบัน Big Hit เป็นที่ยอมรับกับมูลค่าสูงสุดทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมดนตรีประเทศเกาหลี แม้ว่าพวกเขาจะยังไม่ได้จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์ อะไรกันที่เป็นพัฒนาการระหว่าง Bangtan Boys ที่กลายมาเป็น BTS และการเดบิวต์ของ TxT ศิลปินกลุ่มวงที่สองของสังกัด? นี่คือสิ่งที่ Big Hit ได้ตัดสินใจที่เปลี่ยนโชคชะตาของพวกเขา และกลยุทธ์ที่ทำให้การตัดสินนั้นเป็นไปได้  

 

# การเริ่มต้นทำ VLOG : 7 มกราคม 2013

“130107 Rap Monster” ก่อนที่ BTS จะเดบิวต์อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2013 Big Hit ได้โพสต์วิดิโอบล็อกที่เหล่าเมมเบอร์เป็นคนถ่ายกันเองลงในชาแนลออฟฟิเชียลของพวกเขา เมมเบอร์เล่าเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การเดบิวต์ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาทำในสตูดิโอในแต่ละวันในรูปแบบของบันทึกประจำวัน วิดีโอบล็อกเหล่านี้ถูกแพร่หลายผ่านแอคเคาท์โซเชียลมีเดียของพวกเขาเอง ในขณะที่ไอดอลส่วนใหญ่โปรโมทตัวเองผ่านรายการโทรทัศน์ การที่พวกเขาเข้าหาแฟนๆ ด้วยคอนเทนท์ที่พวกเขาทำขึ้นเองจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง แต่ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญยิ่งกว่าคือรูปแบบการทำวิดีโอบล็อก วิธีการที่พวกเขาถ่ายทอดเรื่องราวออกมาอย่างตรงไปตรงมานั้น แตกต่างอย่างชัดเจนกับรายการโทรทัศน์ที่มีอยู่ ทำให้แฟนๆ สามารถแบ่งปันเรื่องราวเหล่านี้ได้ก่อนที่พวกเขาจะเดบิวต์ และทำให้แฟนๆ เข้าใจและเข้าถึงพวกเขามากขึ้น ตัวคอนเทนท์เองก็เข้ากับคาแรคเตอร์ของวง ซึ่งเป็นการผสมรวมกับความเป็นศิลปินกลุ่มไอดอล เข้ากับการเผยตัวตนความเป็นฮิปฮอป ให้แฟนๆ ได้มีส่วนรวมในการติดตามความเป็นมาของพวกเขาต่อไป มองได้อีกแง่ว่ามันทำให้ระยะห่างระหว่างไอดอลกับแฟนคลับแคบลง ประกอบกับมีมิกซ์เทปเป็นตัวบรรยายเส้นทางความเป็นมาของเมมเบอร์แต่ละคนให้เห็นภาพ เมมเบอร์ BTS แบ่งปันผลงานมิกซ์เทปให้ได้ติดตามกันฟรีๆ มาตั้งแต่ก่อนที่พวกเขาจะเดบิวต์มาจนถึงปัจจุบัน เมมเบอร์ที่โด่งดังในไลน์การแรพอย่าง RM, SUGA และ J-HOPE เปิดตัวมิกซ์เทปที่ประกอบด้วยเพลงประมาณ 10 เพลง เมมเบอร์จะเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่พวกเขาเผชิญ และซาบซึ้งกับแนวดนตรีที่ไม่เข้ากับอัลบั้มมาลงในมิกซ์เทป ซึ่งไม่เป็นเพียงแค่ของขวัญที่แฟนๆ ไม่คาดคิดเท่านั้น แต่ยังแยกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมิกซ์เทปออกจากอัลบั้มอีกด้วย สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ว่า Big Hit ได้ลองพยายามทำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกมาตั้งแต่ BTS เดบิวต์ เพื่อที่จะวาดภาพอัตลักษณ์ตัวตนความเป็น BTS

 

# จุดเริ่มต้นของ “ฮวายังยอนฮวา — ช่วงเวลาที่สวยงามที่สุดในชีวิต”

Big Hit เรื่มเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ของอัลบั้มเข้าด้วยกัน พวกเขาสร้างภาพยนตร์สั้นขึ้นสำหรับ Prologue (บทนำ) และ Epilogue (บทส่งท้าย) โดยใส่เมสเสจของเมมเบอร์ทั้ง 7 คนผ่านอัลบั้มและมิวสิควิดีโอออกมาทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ กลยุทธ์การแบ่ง “ฮวายังยอนฮวา” ออกเป็นพาร์ท 1 และ 2 แล้วสร้างตัวบทนำ หรือ Prologue ขึ้นมาเชื่อมเพลงไตเติ้ลอย่าง “I NEED U” และ “RUN” ตามด้วยตัวบทส่งท้าย หรือ Epilogue “Young Forever” ทำให้เมสเสจของ BTS ออกมาคล้ายกับภาพยนตร์ ด้วยเส้นเรื่องหลักที่ถ่ายทอดผ่านอัลบั้ม อัลบั้มรีแพคเกจและสเปเชียลก็เติมเต็มบทต่างๆ ระหว่างทางให้สมบูรณ์ พร้อมกับสร้างบริบทเพิ่มเติมในรูปแบบของเพลงใหม่อีกมากมาย โดยปกติแล้วอัลบั้มรีแพคเกจหรือสเปเชียลจะทำขึ้นจากเพลงเดิมที่มีอยู่แล้วรวมกับเพลงไตเติ้ลใหม่ ซึ่งมักจะทำรายได้มากกว่าอัลบั้มก่อนหน้าเพียงครึ่งหนึ่ง แต่ในทางกลับกัน อัลบั้มสเปเชียลของ BTS กลับทำรายได้ในสัปดาห์แรกได้ใกล้เคียงกับอัลบั้มปกติ ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงปริมาณความต้องการต่ออัลบั้มที่มีสูงมากแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงการก่อตัวของแฟนคลับใหม่ๆ ผ่านอัลบั้มสเปเชียล คอนเสิร์ตของ BTS เองก็มีพื้นฐานเป็นการเล่าเรื่องราวด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นที่น่าสนใจอย่างมากที่คอนเสิร์ตแรกในปี 2014 มีชื่อว่า “EPISODE Ⅱ” ในขณะที่คอนเสิร์ตที่สองในปี 2015 นำเสนอจุดเริ่มต้นของ BTS ด้วยชื่อ “BTS BEGINS” แฟนๆ ยังคงพรั่งพรูเกี่ยวกับเพลง “Born Singer” ที่เมมเบอร์ร้อง ซึ่งเดิมปล่อยออกมาเป็นมิกซ์เทปที่ทำให้หวนระลึกถึงว่าพวกเขาเริ่มต้นมาอย่างไร คอนเสิร์ตที่สามจัดขึ้นในปีเดียวกันในชื่อ “The Most Beautiful Moment in Life On Stage” และครั้งที่สี่ในชื่อ “The Most Beautiful Moment in Life On Stage: Epilogue” เรื่องราวของ BTS ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นผ่านคอนเทนท์ที่หลากหลาย ที่ไม่เพียงทำให้แฟนๆ รุ่นหลังได้ติดตาม แต่เรื่องราวเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นแกนหลักที่รวบรวมคอนเทนท์ต่างๆ เข้าด้วยกัน

V Live – Run BTS

# การเปิดตัวบน Naver V Live

ซีรี่ส์ “Run BTS” บนแอพพลิเคชั่น Naver V Live ค่อนข้างต่างจากซีรี่ส์ “BTS BOMB” ของพวกเขาบน YouTube ในขณะที่ “BTS BOMB” บันทึกมุมมองในแต่ละวันของเหล่าเมมเบอร์เสมือนเป็นเรื่องราวเบื้องหลังเวทีหรือเบื้องหลังการถ่ายทำระหว่างงานประกาศรางวัลหรือปาร์ตี้วันเกิด “Run BTS” จะมีความใกล้เคียงกับรายการวาไรตี้ที่กำกับออกมาในรูปแบบสคริปต์พร้อมฉากเหมือนรายการบันเทิงที่มีอยู่ทั่วไปในโทรทัศน์ แต่เมื่อบันทึกรายวันอย่าง “BTS BOMB” สะสมจำนวนถึงหลักร้อย เหมือนกับเอพิโซดของ “Run BTS” ที่มีจำนวนมาก จึงไม่เป็นการยากที่นำ “Run BTS” ลงจอโทรทัศน์ ซึ่งออกอากาศผ่านช่อง Mnet ตัวคอนเทนท์จึงค่อยๆ ก่อตัวโลกของ BTS ให้เป็นรูปเป็นร่าง เมื่อคุณชอบ BTS คุณจะได้เสพชีวิตประจำวัน, เรื่องราวเบื้องหลัง, รายการบันเทิงผ่านทางแอคเคาท์โซเชียลมีเดีย, V Live, และอัลบั้มของพวกเขา ซึ่งทุกๆ อย่างนี้มาจากศิลปนเพียงกลุ่มเดียว นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า BTS กลายเป็นเหมือนมาตรฐานภายในอุตสาหรกรรมไอดอลนับตั้งแต่พวกเขาประสบความสำเร็จ และหากเพิ่มงานแฟนมีทติ้งอย่างเป็นทางการของ BTS อย่าง “MUSTER” และแฟนมีทติ้งขนาดย่อมอย่าง “FESTA” คุณก็จะมีทุกรูปแบบของคอนเทนท์ที่ไอดอลกลุ่มหนึ่งจะนำเสนอออกมาได้เลยทีเดียว ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใต้ศิลปินชื่อ BTS นอกจากนั้นแล้ว คอนเทนท์วิดีโออย่าง “G.C.F” ที่ถ่ายทำและตัดต่อโดยเมมเบอร์ JUNGKOOK ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เผยให้เห็นถึงมุมมองของคนที่อาศัยอยู่ร่วมกับเมมเบอร์ในวงจริงๆ สิ่งที่แฟนๆ ต้องทำคือเพียงแค่ติดตาม V Live และโซเชียลของพวกเขาเท่านั้นเอง

 

ARMYPEDIA – The archive of all things BTS, made by ARMY!

# ARMYPEDIA

“ARMYPEDIA” ได้ให้แฟนๆ มีส่วนร่วมด้วยการถ่าย QR โค้ด ที่กระจัดกระจายทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์ไป 7 เมืองใน 6 ประเทศได้แก่ เกาหลีใต้, อเมริกา, ญี่ปุ่น, สหราชอณาจักร, ฝรั่งเศส และฮ่องกง โดยให้ค้นหาชิ้นส่วนความทรงจำ 2,080 วัน ตั้งแต่ 13 มิถุนายน 2013 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2019 และบันทึกลงในเว็บไซต์ ARMYPEDIA.NET RM อธิบายวิธีใช้ ARMYPEDIA ให้แฟนๆ ที่สับสนกับจำนวน QR โค้ดที่ล้นหลาม ว่าสิ่งที่แฟนๆ ต้องทำก็คือ “แชร์สิ่งที่พวกเขาทาน หรือสิ่งที่พวกเขาไปเจอมา” ซึ่งแฟนๆ ต่างอัพโหลดความทรงจำต่างๆ เกี่ยวกับ BTS กันทั่วโลก กิจกรรมระดับโลกนี้ถือเป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่าฐานแฟนคลับ BTS มีปฏิสัมพันธ์อย่างไรจากทั่วโลก ในช่วงเวลาที่ BTS สร้างฐานแฟนคลับที่แพร่หลายไปทั่วโลก ที่มีปฏิสัมพันธ์ในหลากหลายภาษาผ่านโชเชียลนี้เอง Big Hit ก็ได้นำพลังของฐานแฟนคลับมาสร้างประโยชน์อย่างเต็มตัว และแปลงให้เป็นอีเวนท์ระดับโลกอย่าง ARMYPEDIA แฟนคลับได้กลายเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ให้กับ BTS โดยตรง ผ่านการร่วมอีเวนท์และนึกถึงสิ่งที่อยากจะบันทึกลงไป เป็นการตลาดในรูปแบบหนึ่งที่พิสูจน์ความสามารถของ Big Hit Entertainment ในปัจจุบัน ที่นำกระแสใหม่ของยุค อย่างโซเชียลยุคใหม่, วัฒนธรรมการโพสต์ออนไลน์ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในฐานแฟนคลับวงการ K-Pop มารวมเอาไว้เข้าด้วยกันนั่นเอง

 

# การเดบิวต์ของ Tomorrow by Together

หลังจากที่ออกตัวมาอย่างถล่มทลายกับ BTS แล้ว Big Hit Entertainment ก็มีต้นทุนอย่างล้นหลามในรูปแบบของผู้ติดตามจำนวนมาก, Vlog และ ARMYPEDIA ที่กุมความสนใจของคนทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย ทีเซอร์เดบิวต์ของศิลปินชายกลุ่มใหม่ Tomorrow by Together (TxT) ก็ได้สร้างสถิติไปมากกว่า 15 ล้านวิวภายในวันเดียวที่เปิดตัว พิสูจน์ให้เห็นเลยว่าบริษัทสังกัดการบันเทิงที่มีผู้ติดตาม 21.5 ล้านคน (อ้างอิงตามวันที่ 3 มีนาคม 2019) เป็นอีกหนึ่งแพลทฟอร์มด้วยตัวเองได้เลย ทีเซอร์ที่พวกเขาเปิดเผยออกมาในช่วงที่ได้รับความสนใจมากที่สุด เป็นคอนเซปต์ที่แตกต่างจาก BTS โดยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า TxT นั้นแตกต่างกับ BTS อีกประเด็นสำคัญคือการที่พวกเขาไม่ได้เอา BTS มาใช้ทำกิจกรรมโปรโมทในรูปแบบใดสู่การเดบิวต์ของ TxT เลย ด้วยการตั้งเป้าไปในทิศทางที่คล้ายคลึงกันแต่เจาะกลุ่มคนละตลาดกับศิลปินกลุ่มก่อนหน้าที่ประสบความสำเร็จ และการวางกิจกรรมโปรโมทด้วยความเข้าใจว่าการสร้างแพลทฟอร์มที่มีพื้นฐานเป็นโชเชียลมีเดียจะกลายเป็นต้นทุนชิ้นใหญ่ที่สุด Big Hit จึงได้พิสูจน์แล้วว่าพวกเขาแตกต่างจากบริษัทสังกัดการบันเทิงอื่นๆ อย่างไร

ที่มา | Ize Magazine
แปลจากอังกฤษเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

 

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment