ตัวแทนคนรุ่นใหม่

BTS ที่โซลเผยความรู้สึก – เมกะสตาร์แห่งวงการ K-Pop เปิดอกการเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่

ไม่มีซุ่มเสียงใดในโลก จุดประกายความคลั่งไคล้ของแฟนคลับเท่า K-Pop “เด็กหนุ่มกันกระสุน” ชาวเกาหลีล้วนแห่ง BTS นำพากระแสความคลั่งไคล้นั้นสู่อเมริกา พร้อมกับเยียวยาคน Gen M ที่หัวใจขุ่นมั่วทั่วโลก

BTS เชื่อมถึงคน Gen M ทั่วโลกแม้ว่า — หรือจริงๆ แล้วเพราะว่า — พวกเขาดูท้าทายวัฒนธรรมเดิมๆ ของบอยแบนด์กับ K-Pop ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งเพลงรักกับท่าเต้นทั้งหลาย แต่ในเพลงของ BTS ที่เมมเบอร์ช่วยแต่งมาตั้งแต่เริ่ม มีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ระบบการศึกษา, ความนิยมในวัตถุ และสื่อในกะลา แสดงความเห็นเกี่ยวกับระบบโครงสร้างที่พยายามชักใยคนรุ่นใหม่ “พูดตรงๆ จากมุมมองของพวกเราเลยนะครับ ทุกๆ วันสำหรับคนรุ่นเรามันเต็มไปด้วยแรงกดดัน หางานก็ว่ายากแล้ว เข้ามหาวิทยาลัยเดี๋ยวนี้ยังยากกว่าที่เคยเป็นมาอีก” RM กล่าว “ผู้ใหญ่ต้องสร้างนโยบายที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยรวม ณ ตอนนี้พวกอภิสิทธิ์ชน สังคมชั้นสูงต้องเปลี่ยนวิธีคิดของตัวเองแล้ว” SUGA เข้ามาร่วมวง “และไม่ใช่แค่เกาหลี แต่ทั่วทั้งโลกเลยครับ สาเหตุที่ทำไมเพลงของพวกเราเป็นเสียงสะท้อนผู้คนทั่วโลกที่อยู่ในวัยรุ่น, วัยเลข 2 และเลข 3 ก็เพราะปัญหาพวกนี้นี่แหละครับ”

แฟนคลับศิลปิน K-Pop ที่บ้าคลั่งในตอนนี้เป็นอะไรที่เฝือในวัฒนธรรมป็อป กระทั่งในโลกที่ผู้สนับสนุนคนดังในอเมริกาเพียรพยายามอัดฉีดตำแหน่งบนชาร์ตและสร้างความปั่นป่วนกับแฟนคลับคู่แข่ง — พูดง่ายๆ คือ บีเทิลส์มาเนีย ควบรวมกับอินเตอร์เน็ต — แต่แฟนคลับ K-Pop กลับมีความทุ่มเทและมีอิทธิพลระดับตำนาน BTS ARMY (ซึ่งย่อมาจาก “Adorable Representative M.C for Youth”) เป็นเครื่องจักรปั่นปรากฏการณ์ พวกเขาแปลเนื้อเพลงกับการปรากฏตัวต่างๆ ของ BTS บนสื่อเกาหลี แล้วไล่คลิก, เข้าดู, กดไลค์ และรีทวิตเพื่อให้ BTS ติดเทรนด์บน Twitter กับ YouTube และถล่มโพลล์ออนไลน์กับการแข่งขันต่างๆ Big Hit จึงต้องคอยนำเสนอข่าวและอัพเดทต่างๆ เกี่ยวกับ BTS บนแฟนคาเฟ่ เพื่อที่ ARMY จะได้ไม่ต้องขุ่นเคือง

ฐานแฟนคลับระดับโลกเป็นสาเหตุที่วงที่คุณอาจไม่เคยได้ยินชื่อได้ครองตำแหน่งสูงๆ บนชาร์ตอเมริกา, ได้ถูกเปิดเพลงวนซ้ำช่วงดึก, ได้ปรากฏตัวที่งานประกาศรางวัล Billboard Music Awards ที่ๆ พวกเขาได้ถ้วยรางวัล Top Social Artist จากคะแนนโหวตของแฟนๆ ในปี 2017 ไปครอง และได้แสดงที่งานประกาศรางวัล American Music Awards. (“งาน AMAs เป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่พวกเราได้รับจากแฟนๆ ครับ” SUGA กล่าว) หากพูดถึงในแง่ของโซเชียลมีเดียอย่างเดียว พวกเขาแทบจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่นำพาพวกเขา BTS ไปสู่อันดับที่ 1 ในสัปดาห์ที่ 58 บนชาร์ต Billboard ‘Social 50’ กับจำนวนทั้งหมดที่อยู่บนชาร์ตเป็นที่สองรองจากเพียง Justin Bieber และมากกว่าที่สามอย่าง Taylor Swift เกินสองเท่า

ARMY ไม่ได้แค่เลื่อมใสในตัวเมมเบอร์ BTS แต่ ARMY เป็นตัวจำกัดความความเป็นพวกเขา ตอนที่พวกเขาเดบิวต์ในปี 2013 ด้วยอัลบั้ม 2 KOOL 4 SKOOL เหล่าเมมเบอร์บอกเล่าถึงแรงกดดันที่นักเรียนเกาหลีคนไหนๆ ก็รู้จักดี นั่นก็คือความจำเป็นที่จะต้องเรียนหนัก, เข้ามหาวิทยาลัย และหางานที่มั่นคง “NO MORE DREAM” ซิงเกิ้ลแรกของพวกเขา และซิงเกิ้ล “N.O” ฉะบรรดาเพื่อนฝูงที่เข้าเรียนอย่างกับซอมบี้ที่ไม่มีเป้าหมาย พวกเขาตั้งคำถามว่าการศึกษาทั้งหมดนี้มันเพื่ออะไรกัน — เพื่อที่จะเป็น “ข้าราชการอันดับ 1 หรอ?” เพลงเหล่านี้ทำให้หวนนึกถึงวงป็อปเกาหลีอย่าง H.O.T และ Seo Taiji & Boys ในเวอร์ชั่นที่อัพเดทมาเป็นยุคที่แบกภาระหนี้สิ้นไว้บนหลังในสภาพเศรษฐกิจที่มีอัตราการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น

“ผมบอกเล่าถึงตัวเองเมื่อก่อน” RM กล่าว สารภาพว่าเขาเคยเป็นหนึ่งในคนที่หลับหูหลับตาเดินตามอุดมการณ์พวกนั้นมาก่อน “ในตอนนั้นไม่มีอะไรเลยที่ผมอยากทำ ผมแค่อยากหาเงินให้ได้เยอะๆ ผมเริ่มทำเพลงโดยการคิดซะว่ามันเป็นจดหมายที่เขียนถึงเพื่อนๆ ที่เป็นเหมือนผมในอดีต”

“มหาวิทยาลัยกลายเป็นสัญลักษณ์ของยาครอบจักรวาล” SUGA กล่าว “เขาว่ากันว่าถ้าได้เข้ามหาวิทยาลัย ชีวิตจะถูกกำหนดไว้เลย เขาบอกกันถึงขั้นว่าน้ำหนักจะลดลง แล้วก็จะสูงขึ้น…”

RM: “ว่าจะมีแฟน…”

JIN: “ว่าจะดูดีขึ้น…”

SUGA: “แต่นี่ไม่ใช่ความเป็นจริง แล้วพวกเขาก็จะตระหนักได้ว่าอะไรพวกนั้นมันเป็นเรื่องโกหกทั้งหมด และพอถึงจุดนั้นก็ไม่มีใครจะมารับผิดชอบอะไรให้เราได้”

“ถ้าเราไม่พูดถึงประเด็นพวกนี้ ใครล่ะครับจะพูด?” SUGA กล่าวต่อ “พ่อแม่เราหรอ? หรือพวกผู้ใหญ่? ก็ไม่ใช่ว่ามันขึ้นอยู่กับพวกเราหรอกหรอ? นี่แหละคือสิ่งที่อยู่ในเรื่องที่พวกเราพูดคุยกัน (ในวง) ว่าใครกันล่ะที่รู้ดีที่สุดและเล่าเรื่องความยากลำบากที่คนในรุ่นเรากำลังเผชิญ? ก็เราไงครับ”

พอพวกเขาโด่งดังขึ้น พวกเขามีความระมัดระวังต่อการพูดในสิ่งที่ผู้คนอาจมองว่าเป็นเรื่อง “ทางการเมือง” แบบผิดๆ SUGA คือคนที่ตรงไปตรงมากับเรื่องนี้ที่สุด พอผมถามเขาเกี่ยวกับการจุดเทียนประท้วงครั้งใหญ่ในเกาหลีเพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดี พัคกึนฮเย ลาออกจากตำแหน่งเมื่อฤดูหนาวปีที่ผ่านมา SUGA พูดถึงประเด็นดังกล่าวอย่างไม่ลังเล “ก้าวข้ามผ่านสิ่งที่ผิดและถูก ความจริงและความเชื่อผิดๆ การที่ประชาชนมารวมตัวกันส่งเสียงออกมาเป็นอะไรที่ผมสนับสนุนโดยตรงครับ”

ในขณะที่ RM ที่ตื่นตัวต่อประเด็นที่ละเอียดอ่อนมากกว่า กล่าวถึงการจากไปของ จงฮยอน สมาชิกศิลปิน K-Pop วง SHINee ผู้ทนทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้าและปลิดชีพตัวเองลงเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา “พวกเราไปแสดงความไว้อาลัยในเช้าวันถัดมา คืนนั้นผมนอนไม่หลับเลยครับ มันเป็นอะไรที่ช็อคจริงๆ เพราะพวกเราเจอเขาบ่อยมากตามงานต่างๆ เขาประสบความสำเร็จมามากๆ” SUGA เสริม “มันเป็นเรื่องที่ช็อคสำหรับทุกคน และผมรู้สึกเห็นใจเขาจริงๆ ครับ” แล้ว RM ก็จบบทสนทนาเรื่องนี้ลง “พวกเราพูดได้เท่านี้ครับ”

แต่ SUGA ยังคงกล่าวต่อ “ผมอยากพูดครับว่าทุกๆ คนบนโลกมีความรู้สึกเหงา รู้สึกเศร้า และถ้าพวกเรารู้ว่าทุกคนกำลังเศร้าและทรมาน ผมก็หวังว่าพวกเราจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ผู้คนสามารถร้องขอความช่วยเหลือออกมาได้ สามารถพูดว่าหลายสิ่งมันลำบากในเวลาที่พวกเขารู้สึกลำบากออกมาได้ และพูดว่าเราคิดถึงใครเวลาที่เราคิดถึงใครออกมาได้”

หลังจากนั้นผมหยิบยกข้อความที่ RM ทวีตตอนเดือนมีนาคมปี 2013 ขึ้นมา เขาบอกว่าพอเขาเข้าใจเนื้อเพลงที่ยกย่องการแต่งงานของคู่รักร่วมเพศอย่างเพลง “Same Love” ของ Macklemore & Ryan Lewis ว่าหมายถึงอะไร ยิ่งทำให้เขาชอบเพลงนี้มากขึ้นเป็นสองเท่าตัว แฟนๆ BTS มองว่านี่หมายถึง BTS สนับสนุนสิทธิความชอบธรรมของคู่รักร่วมเพศอย่างเปิดเผย ในวันนี้พวกเขาพูดถึงเรื่องนี้ออกมานิดหน่อยอย่างระมัดระวัง “มันยากครับที่จะสรรหาคำที่ใช่ในการพูดถึงเรื่องนี้ พูดกลับกัน การพูดว่า ‘Same Love (ความรักแบบเดียวกัน)’ ก็คือการพูดว่า ‘Love is the same (ความรักไม่แตกต่างกัน)’ นั่นแหละครับ ผมชอบเพลงนั้นมากๆ เลย ที่ผมจะพูดก็มีเท่านี้ครับ” ในขณะที่ SUGA ก็ชัดเจนในจุดยืนของตัวเอง “ไม่มีอะไรผิดเลยครับ ทุกๆ คนเท่าเทียมกันครับ”

“แรพมอนสเตอร์ (RM) ครับ เพลงเกี่ยวกับรักร่วมเพศ ตอนฟังดูโดยที่ไม่รู้เนื้อเพลงก็ว่าเพราะดี พอไปดูเนื้อเพลงและฟัง เลยเป็นเพลงที่เพราะกว่าเดิมสองเท่าเลย ขอแนะนำ Macklemore & Ryan Lewis – Same Love เลยครับ”

กระทั่งในเกาหลีเอง กระแสที่เพิ่มขึ้นพรวดพราดของ BTS เป็นอะไรที่น่าประหลาดใจ สามปีในการทำงาน — ระยะเวลาอันยาวนานของวงจร K-Pop — ในที่สุดพวกเขาก็ได้รับการยอมรับในปี 2016 จากเพลงฮิตอย่าง “Blood Sweat & Tears (피 땀 눈물)” และ “FIRE (불타오르네)” ส่วนหนึ่งจากสาเหตุมาจากการที่ BTS เป็นวงแรกที่มาจากสังกัด Big Hit Entertainment ซึ่งประหลาดตรงที่สังกัดนี้ไม่ได้เป็นหนึ่งใน “สามยักษ์ใหญ่” ของสังกัดการบันเทิง อันได้แก่ YG, JYP และ SM ซึ่งเป็นผู้ควบคุมวงการเพลงเกาหลี และสร้างสรรค์ศิลปินป็อปชื่อดังส่วนใหญ่ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา รวม Girls’ Generation, BIGBANG, Super Junior, Wonder Girls และ 2NE1 ซึ่ง BTS ไม่ได้มีฟีลลิ่งเหมือนวงที่ออกมาจากโรงผลิตสดๆ ร้อนๆ ที่ถูกปั้นมาครองตลาดเพลงเอเชีย

บังชีฮยอก ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Big Hit สั่งสมประสบการณ์ที่สังกัด JYP ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ พัคจินยอง รวมทั้งแต่งเพลง และโปรดิวซ์เพลงฮิตให้กับ Rain, 2AM และแพคจียอง “ขนาดคนรอบตัวผมยังไม่เชื่อในตัวผมเลยครับ” เขากล่าว ย้อนนึกถึงช่วงแรกๆ ที่อยู่กับ BTS “ถึงพวกเขาจะรู้ว่าแต่ก่อนผมเคยประสบความสำเร็จ แต่เขาก็ไม่เชื่อว่าผมจะพาบอยแบนด์วงนี้ขึ้นสู่จุดสูงสุดได้” Big Hit ก็เหมือนกับสังกัดอื่นๆ ที่ควบคุมทุกอย่างของศิลปินในสังกัดตั้งแต่การอัดเพลง สู่การจัดจำหน่าย, การตลาด และงานอีเวนท์ต่างๆ เขาบอกว่าคนอื่นคิดว่าชื่อ “Bulletproof Boy Scouts” มีฟีลลิ่งเกาหลีเหนือ แต่เขากลับรู้สึกว่า BTS จะกลายเป็นเสื้อเกาะกันกระสุนในเชิงเปรียบเทียบให้กับคนรุ่นพวกเขา

RM อ้างว่าเดิมทีประธานบังชีฮยอกอยากจะปั้นวงฮิปฮอป “แบบวง Migos” เขาฟังเทปเดโม่ของ RM ครั้งแรกในปี 2010 และยังคงจำบางท่อนจากเพลงได้ (“หัวใจของผมเป็นเหมือนนักสืบที่รู้ว่าใครคือลูกชายของผู้ร้าย แต่กระทั่งผมรู้ตัวผู้ร้าย แต่ผมกลับจับเขาไม่ได้”) “มันเป็นอะไรที่ช็อคสำหรับผมครับ” ประธานบังกล่าว “เทียบจากอายุของ RM แล้ว เขาเป็นคนที่รู้จักสะท้อนมองตัวเอง, ซับซ้อน, และมีหลักการสุดๆ” ในตอนนั้น RM ผู้มีชื่อจริงว่า คิมนัมจุน อายุแค่ 15 เท่านั้น ซึ่งประธานบังจับเขาเซ็นสัญญาในทันที

ณ ตอนนั้น “วงไอดอล” บอยแบนด์และเกิร์ลกรุ๊ป อย่าง Super Junior และ SNSD มีอิทธิพลสูงสุด ประธานบังจึงตัดสินใจปั้นวงที่ผสมผสานความตรงไปตรงมากของฮิปฮอป เข้ากับพรสวรรค์และเสน่ห์ของบอยแบนด์ สไตล์เดียวกับ BIGBANG ไม่กี่ปีถัดมาระหว่างนั้น เขารับ SUGA แรพเปอร์ที่เขาบรรยายว่ามีกิมมิก “I don’t give a fuck” เป็นตัวซ่อนเร้นแก่นแท้ของตัวเองที่มีความถ่อมตัว มาเป็นสมาชิก ตามด้วย J-HOPE แดนเซอร์แนวสตรีท ต่อจากนั้น Big Hit ก็จัดออดิชั่นทั่วภูมิภาค ผู้กำกับแคสท์ติ้งไล่ตาม JIN หลังจากที่เห็นเขาลงจากรถเมล์และชักชวนเขามาลองเข้าวง ซึ่งก็ได้ตัวเขามาร่วมทีมในที่สุด ตามด้วย V และ JUNGKOOK ส่วน JIMIN เป็นคนสุดท้ายที่เข้าร่วมวงหลังจากที่ทีมงาน Big Hit ไปตามสอดส่องเขาที่สถาบันสอนเต้นแนวโมเดิร์น

ในช่วงแรกเริ่ม เมมเบอร์แต่ละคนได้ลองมือกับการแต่งข้อความให้มีสัมผัส “ผมไปไกลถึงขั้นเพื่อที่จะเรียนรู้การแรพ” JIMIN ที่ในตอนนี้เป็นสายร้องเหมือนกับ JUNGKOOK กล่าว “แต่หลังจากที่เขาให้ผมแรพครั้งนึง ทีมงานเลยแบบ ‘มาเต็มที่กับการร้องมากขึ้นแทนละกัน’” RM พยักหน้าตามและกล่าว “เลือกได้ฉลาดครับ” แล้วทุกคนก็ระเบิดหัวเราะกันออกมา

สิ่งเหล่านี้เป็นแชมป์ความสะเปะสะปะของ Big Hit ซึ่งในขณะเดียวกันพวกเขาก็มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สมัยก่อนพวกเขาอาศัยอยู่ด้วยกันในห้องเล็กๆ ห้องเดียว นอนบนเตียงสองชั้นไปพร้อมๆ กับเรียนรู้นิสัยการนอนของแต่ละคน (JIMIN นอนท่าบิดๆ เบี้ยวๆ ประหลาดๆ บนเตียง ส่วน JUNGKOOK เริ่มนอนกรน RM ถึงกับพูดว่า “พูดเยอะไปละมั้ง”) พวกเขายังคงอาศัยอยู่ด้วยกัน ในพื้นที่ๆ เพิ่มมากขึ้นมาหน่อย — มี J-HOPE กับ JIMIN แชร์ห้องใหญ่สุดด้วยกัน — และแพลนที่จะอยู่ด้วยกันอย่างนี้ต่อไป

“เวลาพวกเราอยู่บ้าน เราไปห้องคนนู้นคนนี้ไปทั่ว” JIN กล่าว “ขนาดเวลาผมกลับบ้าน (ไปหาครอบครัว) ผมยังเบื่อเลยเอาจริงๆ” SUGA เสริม “และถ้าเกิดมีปัญหาอะไรหรือมีใครทำร้ายจิตใจใครขึ้นมา เราจะไม่ปล่อยไว้เลย เราจะคุยเรื่องนั้นกันทันที”

“เพราะฉะนั้นถ้า J-HOPE กับ JIN ทะเลาะกัน จะไม่ใช่แค่เขาสองคนเคลียร์กัน” JUNGKOOK อธิบาย “แต่จะเป็นพวกเราทั้งเจ็ดคนเลยครับ!” SUGA กล่าว

“พวกเราทุกคนจะมารวมตัวกัน” RM กล่าว “เหมือนอโกรา (ที่ประชุมสาธารณะ) ในยุคกรีกโบราณ เราจะรวมตัวกันแล้วก็ถามว่า ‘เกิดอะไรขึ้น?’”

หลังการสัมภาษณ์ RM พาผมไปสตูดิโอของเขา เป็นห้องเล็กๆ ที่อยู่ตรงสุดทางเดิน ประดับประดาด้วยบรรดาฟิกเกอร์ KAWS ตัวใหญ่ในกล่องกระจก, โปสเตอร์ Supreme รูป ไมค์ ไทสัน และบรรดาสเกตบอร์ด ภายในสตูดิโอมีฟิกเกอร์ KAWS เรียงรายตามผนัง พร้อมกับผลงานกราฟฟิตี้ชิ้นดัง “Rage, Flower Thrower” เวอร์ชั่นจำลองของ Banksy ที่เขายอมรับว่าจ่ายไปอ่วม นอกจากนั้นก็เป็นพื้นที่ทำงานทั่วๆ ไป ตั้งแต่ เก้าอี้แบบพับเก็บได้, จอขนาดใหญ่ และไอเท่มชิ้นล้ำค่าที่สุดในบรรดาของทั้งหมด โน้ตบุ๊คของเขานั่นเอง

ในเนื้อเพลง ‘Silver Spoon* [뱁새 (เพบเซ)]’ มีท็อปปิกเรื่อง ‘เพบเซ (뱁새)’ ที่แปลว่านกกระจอกตัวอ้วนขนปุกปุยของเกาหลี ตามเรื่องเล่าของเกาหลี ว่ากันว่าถ้านกกระจอกพยายามจะเดินเหมือนนกกระสา จะทำให้ขาตัวของตัวมันฉีก เป็นกุศโลบายว่าอย่าพยายามทำอะไรที่เกินตัว แต่ BTS กลับนำการเปรียบเปรยนี้มาเป็นการโอ้อวด ประกาศตัวของนกตัวเล็กๆ ที่เพียรพยายาม SUGA ร่ายเนื้อเพลงของเพลงนี้ให้ฟังอย่างกวนๆ “(เนื้อเพลงตามคำแปลจากภาษาอังกฤษ จากบทความของ Billboard) คนรุ่นเราเหน็ดเหนื่อยกันมามาก / เราจะไล่ตามพวกมันให้ไว / เพราะนกกระสามันทำให้เป้ากางเกงฉันมันคับแน่นเลย / เพราะงั้นให้เรียกฉันว่าเพบเซ” **

* Silver Spoon หรือ ช้อนดิน เป็นการเปรียบเปรยของเกาหลีถึงความมั่งคังร่ำรวยและสถานภาพทางสังคมของประชากรกับช้อนเป็น 4 สถานะ ทอง (금), เงิน (은), ทองแดง (동) และ ดิน (흙) ในขณะที่ทอง, เงิน, และทองแดงเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวยและมีเอกสิทธิ์สูงสุดในสังคมนั้นเป็นประชากรส่วนน้อยดินก็เป็นเครื่องหมายแทนประชากรส่วนใหญ่ที่เหลือทั้งหมดที่เป็นชนชั้นแรงงานที่มีรายได้น้อยและต้องทำงานหนัก

** (เนื้อเพลงตามคำแปลจากภาษาเกาหลี) 욕봤지 이 세대 / 빨리 Chase ‘em / 황새 덕에 내 가랑인 탱탱 / So call me 뱁새 / ทำเต็มที่แล้วใช่มั้ยล่ะ คนรุ่นเราน่ะ / ไล่ตามมันให้ไว / ขาฉันมันยืดยาวออกมาเพราะ ฮวังเซ [황새 (นกกระสา)] / เพราะงั้นให้เรียกฉันว่า เพบเซ [뱁새 (นกกระจอก)]

พูดง่ายๆ ในตอนนี้ที่พวกเขาอยู่ระดับสูงสุดในโลก พวกเขาจะยังเรียกตัวเองว่าคนที่ตกเป็นเบี้ยล่างได้หรือไม่? “พวกเราระมัดระวังที่จะเรียกตัวเองว่า เพบเซ มากๆ ครับตอนนี้” SUGA กล่าว “แต่ความเป็นจริงคือมันเป็นจุดที่เราเริ่มต้นขึ้นมา และเป็นรากฐานของเราเอง” RM ชี้ให้เห็นว่าพวกเขายังคงมองว่าตัวเองเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง “ถ้ามีประเด็นปัญหา เราจะหยิบยกขึ้นมาพูด เพื่อที่เสียงของเราจะได้ดังขึ้น เพื่อที่จะได้เกิดการเปลี่ยนแปลง และจะได้พูดถึงเรื่องพวกนี้ได้เต็มที่”

BTS คือวง K-Pop ที่กำลังโด่งดัง เพราะพวกเขารักษาสมดุลความแตกต่างสู่แนวเพลงในสเกลระดับโลกที่แท้จริง พวกเขากำลังเดินทัพสู่ตลาดอเมริกาด้วยการร้องและแรพเป็นภาษาเกาหลี, ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ผ่านการปรากฏตัวอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย, ด้วยการแสดงความเห็นทางการเมืองโดยปราศจากการปลุกปั่นความขัดแย้ง และจุดประกายความชอบด้วยความเป็นอยู่ที่นอบน้อม ยุคของคนที่ตกเป็นเบี้ยล่างได้มาถึงแล้ว

แต่พวกเขาไม่อยากให้ถามถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป เวลามีคำถามเกี่ยวกับอัลบั้มถัดไปของ BTS ทั้งเมมเบอร์และโปรดิวเซอร์เลี่ยงตอบกันอย่างชำนาญ ถึงจะเห็นๆ กันอยู่ว่าพวกเขาไม่มีแผนจะปล่อยเพลงภาษาอังกฤษ เพราะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าการเดินเกมแบบนั้นจะทำให้เกิดการแบ่งแยกของฐานแฟนคลับหลัก ในทางกลับกันพวกเขาดูพอใจที่จะทำในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่ต่อไป RM ไม่พ้นที่จะให้หลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ในภาษาเกาหลี คำว่า อนาคต [미래 (มีเร)] ประกอบขึ้นจากสองพยางค์” เขาอธิบาย พร้อมกับนำเสนอสิ่งที่ทำให้เกิดความสงสัยว่าวงมาไกลขนาดไหนและยังอาจไปไกลได้ถึงไหน “ส่วนแรก 미 (มี) แปลว่า ‘ไม่’ และส่วนที่สองคือ 래 (เร) ‘การมา’ ในแง่นี้ ‘อนาคต’ จึงมีความหมายถึง สิ่งที่ยังมาไม่ถึง หมายความว่า อนาคตคือ ณ ปัจจุบัน และปัจจุบันของพวกเราคือการที่พวกเรากำลังใช้ชีวิตกับอนาคตของเราอยู่ครับ”

ที่มา | Billboard
แปลจากอังกฤษเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment