วงการ K-Pop

ปี 2017 ฝากไว้ซึ่งวงการ K-Pop ที่เปลี่ยนแปลงไป

ตั้งแต่เริ่มต้นปี ปีที่ผ่านมาให้ความรู้สึกเหมือนตั้งตัวเองเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของวงการ K-Pop

12 เดือนที่ผ่านมานี้มีสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่คาดเอาไว้พอดิบพอดี ด้วยการขึ้นสู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมของศิลปินบางกลุ่มในขณะที่บางกลุ่มก็กลับไปในทางตรงกันข้าม วงการเพลงเกาหลีดูค่อนข้างต่างออกไปในช่วงปลายปี 2017 กว่าที่เป็นมาเมื่อไม่นานมานี้ทีเดียว

เริ่มตั้งแต่ต้นปี วงการบันเทิงเกาหลีก็ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงเมื่อวง Wonder Girls ประกาศยุบวง วงที่แข็งแกร่งตั้งแต่ก่อตั้งวงเมื่อปี 2007 แม้จะผ่านการเปลี่ยนแปลงสมาชิกมาหลายครั้ง แต่ก็ยังขึ้นสู่จุดสูงสุดได้ทุกๆ ครั้งที่ปรากฏตัวออกมา และยังเป็นศิลปิน K-Pop วงแรกสุดที่ติดอันดับบนชาร์ต Billboard Hot 100 การเลิกราของวง Wonder Girls ส่งสัญญาณการสิ้นสุดของยุคเมื่อพวกเธอแยกตัวกันไปคนละทาง ประกอบกับการยุบวงเกิลกรุ๊ปวงอื่นๆ รวมถึง Sistar และ miss A ที่ตามมา ศิลปินหญิงกลุ่มอื่นๆ รวมถึง Girls’ Generation และ T-ara ก็เหลือไว้แต่อนาคตที่คลุมเครือในปี 2017 หลังจากที่หลายเมมเบอร์จากวงที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ออกจากสังกัดไปในขณะที่เมมเบอร์ที่เหลือในวงยังต่อสัญญาต่อ แต่ปี 2017 ก็ไม่ใช่หายนะโดยสมบูรณ์แบบสำหรับวง K-Pop หญิง วงอายุรองลงมาที่โดดเด่นสุดๆ อย่าง TWICE และ Red Velvet ก็เคลื่อนตัวเข้ามาครอบครองวงการด้วยเพลงฮิตเพลงแล้วเพลงเล่าเมื่อวงเกิร์ลกรุ๊ปผู้เป็นตัวแทนยุค 00’ และต้นยุค 10’ มาถึงคราวชะงัก

และแม้ว่าศิลปินกลุ่มหญิงจะไม่ได้มีปีที่รุ่งเรืองกันหมด แต่ศิลปินเดี่ยวหญิงกลับทำผลงานไว้สุดอลังการ IU ขึ้นแท่นจากอัลบั้มโซโล่ของเธอและผลงานที่ทำเพลงร่วมกับศิลปินอื่นๆ ในขณะที่แทยอนจาก Girls’ Generation, Ailee, Suran และ Sunmi อดีตสมาชิกวง Wonder Girls ก็ขยับขยายเส้นทางการทำงานของตัวเองสู่การเป็นศิลปินเดี่ยว ศิลปินน้องใหม่อย่าง Heize และคู่หูดูโอ้ Bolbbalgan4 นำโดยอันจียองก็ขึ้นมามีบทบาททั้งในเกาหลีและบนชาร์ต World Albums ของ Billboard เพราะความสดใสของวงป๊อปอินดี้ และ Alternative R&B ที่โดนใจผู้ฟังนี่เอง

ในส่วนของอีกเพศ นักร้องชายและวงอินดี้ก็ทำผลงานในเกาหลีได้ดี แต่กลับล้มเหลวในการมีบทบาทจริงๆ กับแฟนๆ K-Pop สากล ทั้งๆ ที่กระแสที่ผู้ฟัง K-Pop ทั่วโลกโดยส่วนใหญ่เปิดรับวงบอยแบนด์ยังคงเป็นไปต่อเนื่อง ซึ่งไม่มีวงไหนที่ได้รับการต้อนรับมากไปกว่า BTS หลังจากพวกเขาพารางวัล Top Social Artist จากงาน Billboard Music Awards เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมากลับบ้านไป พวกเขาทั้งเจ็ดก็ได้สร้างประวัติศาสตร์อีกหลายครั้งบนชาร์ตเพลงอเมริกันจากการสร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในตลาดเพลงฝั่งอเมริกา

ไม่ว่าจะเป็นการกุมอำนาจบนโซเชียลมีเดียหลายแพลทฟอร์ม, การกลายเป็นศิลปินกลุ่มเกาหลีที่ทำอันดับได้สูงที่สุดตลอดกาลบนชาร์ตอัลบั้ม Billboard 200 และบนชาร์ตซิงเกิ้ล  Billboard Hot 100 หรือการเปิดฉากปีใหม่ด้วยการแสดงในรายการ Dick Clark’s New Year’s Rockin’ Eve with Ryan Seacrest ทางช่อง ABC ก็ตาม ปี 2017 ที่ผ่านมานับเป็นปีที่ BTS และวงการ K-Pop บุกเข้าสู่ตลาดเพลงกระแสหลักของอเมริกาได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว แม้ Psy จะมีเพลงดังอย่าง “Gangnam Style” ที่กลายเป็นปรากฏการณ์ไวรัลและกลายเป็นที่รู้จักแก่สาธารชนในปี 2012 แต่แรงขับเคลื่อนของ BTS เป็นอีกสายพันธุ์ของความนิยมนำโดยความอุตสาหะที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายของฐานแฟนคลับทรงพลังหลายล้านที่กำลังเติบโต ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม ARMY ผู้มีบทบาทที่ยิ่งใหญ่ในอเมริกา แต่ปี 2017 ดูท่าว่าจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ BTS และจะนำมาซึ่งสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตของพวกเขาในฐานะบอยแบนด์ K-Pop ที่รุ่งเรืองที่สุดตลอดกาลในตลาดเพลงอเมริกา

BTS Performing on New Year’s Rockin’ Eve / theamas.com

ศิลปินกลุ่มชายวงอื่นก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นกัน แต่ไม่มีอะไรจะทรงพลังในประเทศที่เป็นตลาดแห่งเพลงเกาหลีในปีนี้เท่ากับซีซั่นสองของรายการแข่งขันความสามารถอย่าง Produce 101 ซึ่งมีผู้มีพรสวรรค์ทางสาย K-Pop เข้าแข่งขันเพื่อคว้า 1 ใน 11 ตำแหน่งในวงไฟนอล ซีซั่นแรกของ Produce 101 ซึ่งออนแอร์ทาง Mnet ช่องเคเบิ้ลของเกาหลีภายใต้มหาอำนาจทางวงการบันเทิงอย่าง CJ E&M ออกมาเป็นวงเกิร์ลกรุ๊ปชั่วคราวอย่าง I.O.I ซึ่งหลังจากหมดสัญญาก็ยังคงมีอิทธิพลต่อวงการ K-Pop เห็นได้จากการที่เกิร์ลกรุ๊ปอย่าง Pristin และ Weki Meki ขึ้นมามีบทบาทในปี 2017 ในขณะทึ่ศิลปินเดี่ยวอย่าง ชองฮา ก็สร้างกระแสความนิยมในปีนี้ในฐานะหนึ่งในศิลปินเดี่ยวหน้าใหม่อนาคตไกล แต่ด้วยซีซั่นสองของ Produce 101 ในปี 2017 จะเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เคย กระแสที่แพร่หลายจากรายการส่งผลให้เห็นผ่านการประท้วงของกลุ่มคนในวงการต่อบทบาทของโทรทัศน์ในวงการ K-Pop

นอกจากวงที่ดังพลุแตกอย่าง WANNA ONE ที่ฟอร์มวงขึ้นมาจากผู้เข้าแข็งขันตัวท็อป บอยแบนด์อีกหลายวงโดยเฉพาะวง NU’EST (ภายใต้ชื่อวง NU’EST W เนื่องจากมีเมมเบอร์คนหนึ่งอยู่ในวง WANNA ONE ชั่วคราว) ก็กลับมาบนเส้นทางการทำงานครั้งใหม่หลังจากที่เหล่าเมมเบอร์เสร็จสิ้นจากการแข่งขันในรายการ Produce 101 ลงไป นี่เป็นสิ่งที่กระตุ้นกระแสใหม่ของรายการโชว์ในเกาหลีที่พยายามจะให้โอกาสแก่ไอดอล K-Pop เป็นครั้งที่สอง เมื่อบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์เริ่มมามีบทบาทในการปั้นศิลปินโดยตรง ไม่ว่าจะมีบทบาทเองหรือมีบทบาทร่วมกับสังกัดค่ายเพลงก็ตาม นอกเหนือจากการที่ศิลปินที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้วได้กระแสความนิยมเป็นครั้งที่สอง หลายๆ ศิลปินเองก็มาออกซีซั่นนี้ของรายการเพื่อมองหาความสำเร็จ ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับโครงสร้างการค้นหาดาวดวงใหม่แล้ว ก่อให้เกิดความกังวลต่ออุตสาหกรรมวงการบันเทิงเกาหลีในเรื่องของบทบาทของช่องโทรทัศน์ในฐานะผู้ผลิตคอนเทนท์โดยตรง มากกว่าการเป็นแพลทฟอร์มไว้ให้สังกัดในวงการบันเทิงต่างๆ เอาไว้ใช้

ศิลปินจากรายการ Produce 101 ยังได้ตอกย้ำให้เห็นถึงอายุงานอันสั้นของศิลปิน K-Pop ในปี 2017 จากการได้เห็นวง WANNA ONE และวงบอยแบนด์อย่างน้อยอีกสองวง เช่น JBJ และ Rainz อันเป็นผลพวงมาจากรายการ ซึ่งศิลปินแต่ละคนในวงเซ็นต์สัญญาอยู่กันคนละค่ายแล้วมารวมตัวกันผ่านการเซ็นต์สัญญาในช่วงไม่กี่เดือน หรืออย่างมากคือสองปี หลายๆ วงรวมถึง Super Junior และ After School ต่างก็เคยผ่านการสับเปลี่ยนไลน์อัพในอดีตแต่ทั้งสองวงต่างก็ยอมแพ้กับโครงสร้างนี้หรือประสบความสำเร็จแค่เพียงพอประมาณเท่านั้น ปีนี้นับเป็นปีแรกที่ได้เห็นการทำให้ศิลปินวง K-Pop ไอดอลที่มีอายุการทำงานจำกัดให้กลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งถ้าหากกระแสนี้ดำเนินต่อเนื่องไป ก็จะได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในมาตรฐานการบริโภคเมื่อฐานแฟนคลับมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มศิลปินแค่ในระดับผิวเผิน และโฟกัสที่ตัวศิลปินเป็นรายบุคคลมากขึ้น

ในช่วงท้ายของปีก็มีการปะทุครั้งใหญ่ที่ถูกส่งเข้ามาสู่โลกของ K-Pop ด้วยเช่นกัน ด้วยการจากไปของ จงฮยอน (คิมจงฮยอน) จากวง SHINee นักร้องนักแต่งเพลงวัย 27 ปีเสียชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม หลังจากทนทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้า ซึ่งตัวศิลปินเคยกล่าวถึงไว้ในอดีต และกล่าวถึงอีกครั้งในจดหมายสั่งเสียที่ถูกส่งต่อไปยังเพื่อนของเขา สองปีที่ผ่านมาเราได้เห็นศิลปิน K-Pop และประเทศเกาหลีเริ่มเผชิญหน้ากับปัญหาอาการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจอย่างเปิดกว้างมากขึ้น อย่างเช่นที่เห็นได้จาก บังยงกุก จาก B.A.P ที่พักงานในวงการไปชั่วคราวเมื่อปีที่ผ่านมา, แรปเปอร์ San-E และ SUGA จาก BTS ที่เคยเอ่ยถึงความยากลำบากผ่านเพลงและบทสัมภาษณ์

ปี 2017 ยังเป็นปีที่ได้เห็นถึงการยอมรับกับสาธารณชนเรื่องโรคการรับประทานผิดปกติอีกด้วย JinE จากวง Oh My Girl ออกจาวงไปเมื่อปีที่ผ่านมาเพื่อโฟกัสกับการรักษาโรคกลัวอ้วน (อะนอเร็คเซีย) การจากไปของจงฮยอนไม่เพียงทิ้งไว้ซึ่งช่องโหว่ในวงการ, ในฐานะสมาชิกของหนึ่งในวงที่รุ่งเรืองที่สุดของเกาหลี, วงที่ประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม และในฐานะการเป็นศิลปินเดี่ยวเองด้วยก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังกระตุ้นให้เกิดการทบทวนมากขึ้นในเรื่องของปัญหาสุขภาพจิตและการรักษาของบรรดาศิลปิน K-Pop ที่จะเดินหน้าทำงานต่อในศักราชใหม่

หากมองเพียงผิวเผิน หลายสิ่งในวงการ K-Pop ได้เปลี่ยนแปลงไปหลังจากความโกลาหลในปี 2017 แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงเก่าแก่และแบบแผนของวงการได้เปิดทางให้ศิลปินทางเลือกได้ตบเท้าเข้าสู่สายตาสาธารณชน ปลุกเร้าซึ่งวินาทีประวัติศาสตร์และนวัตกรรม และสร้างปี 2018 ให้เป็นปีที่จะเต็มไปด้วยสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าและยอดเยี่ยมกว่าที่ผ่านมา

ที่มา | Forbes
แปลจากอังกฤษเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment