เพราะเหตุใดซอแทจีถึงเลือก BTS เป็น ไอค่อนยุคต่อไป 

เมื่อปลายปี 2016 BTS รีเมคการแสดงเพลง ‘Class Idea (교실이데아)’ ของ Seo Taiji & Boys ร่วมกับเหล่าแดนเซอร์จำนวนมากในงาน KBS ‘Gayo Daechukje’ หลังจากนั้นมาเป็นเวลากว่า 9 เดือน พวกเขา BTS ก็ได้ขับร้องเพลง ‘Class Idea (교실이데아)’ อีกครั้ง ร่วมกับศิลปินเจ้าของเพลงอย่างซอแทจี

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. ที่ผ่านมา พวกเขาเปิดการแสดงที่ถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์เพลงป็อปเกาหลีขึ้นที่ Seoul Jamsil Sports Complex ไอค่อนตัวแทนยุค 90 อย่างซอแทจี และไอค่อนตัวแทนยุคปัจจุบันปี 2017 อย่าง BTS รีเมคการแสดงเพลงฮิต 8 เพลงของ ‘Seo Taiji & Boys’ ใน คอนเสิร์ตซอแทจีเดบิวต์ครบรอบ 25 ปี ‘Lotte Card MOOV: Soundtrack Vol.2 <Seo Taeji 25>’

ในวันนั้น ซอแทจีและ BTS ทำการแสดงร่วมกันทั้งหมด 8 เพลงได้แก่เพลง ‘I Know (난 알아요)’, ‘Deep into the Night (이 밤이 깊어가지만)’, ‘In the Illusion (환상 속의 그대)’, ‘Anyhow (하여가)’, ‘To You (너에게)’, ‘Class Idea (교실이데아)’ และเพลง ‘Come Back Home (컴백홈)’

พวกเขาหายใจเป็นจังหวะเดียวกันขนาดที่ว่าแม้อายุที่ต่างกันกว่า 20 ปีก็ไม่ใช่สาระสำคัญ และทำให้แฟนๆ ได้หวนกลับสู่ยุค 90 อีกครั้งในชั่วพริบตา

แน่นอนว่าแต่ก่อนนั้น การที่ศิลปินรุ่นน้องทำการแสดงทริบิวท์ หรือก็คือการคัฟเวอร์ผลงานอันเป็นอนุสรณ์ของศิลปินรุ่นพี่เพื่อเป็นการยกย่องนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ้างอยู่แล้ว แต่การแสดงของพวกเขาไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ศิลปินรุ่นพี่และรุ่นน้องมารีเมคการแสดงของเมื่อ 25 ปีก่อนร่วมกัน

ความเชื่อมั่นของซอแทจีที่มีต่อ BTS นั้นถูกมองไม่หนีห่างไปจากการตีตราว่า ‘เพราะเป็นวงที่กำลังเป็นที่นิยม?’ ซอแทจีผู้เป็นที่กล่าวขานเรื่องการเอาใจใส่ทั้งซาวด์ ตลอดจนการกำกับการแสดงอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสมอมา ได้มอบหมายการแสดงที่มีความหมายยิ่งกว่าครั้งไหนๆ แก่ BTS ถึง 8 เพลง

การปรากฎตัวของ Seo Taiji & Boys เมื่อปี 1992 สร้างความตกตะลึงอย่างใหญ่หลวงแก่วงการเพลงป็อป ณ ขณะนั้น นักวิจารณ์เพลงจำนวนมากพ่นคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อพวกเขา แต่ตั้งแต่แนวเพลงแรพ, การแสดงสุดตื่นตา, เสื้อผ้าสุดฟรีสไตล์และแหวกแนวของพวกเขา ก็ได้นำพาหนุ่มสาววัยทีนในยุคนั้นสู่วัฒนธรรมกระแสนิยม หรือ Pop Culture และยังสร้างแรงกระเพื่อมคล้ายที่ใกล้เคียงกับกระแสซินโดรม

เหนือสิ่งอื่นใดเลยนั้นก็คือถ้อยความทางสังคมที่วัยรุ่นในยุคนั้นแบกรับมาถูกนำขึ้นสู่เหนือผิวน้ำ ยกตัวอย่างตั้งแต่เพลง ‘Class Idea (교실이데아)’ ที่วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นจริงของชุดยูนิฟอร์มนักเรียน, เพลง ‘Regret of the Times (시대유감)’ ที่วิพากษ์วิจารณ์ความไม่สมเหตุสมผลในสังคม ตลอดจนเพลง ‘Come Back Home (컴백홈)’ ที่ผลักดันเหล่าวัยรุ่นที่หนีออกจากบ้านให้กลับบ้าน ทำให้เหล่าวัยรุ่นเกิดความรู้สึกร่วมกับพวกเขา

ในปี 2013 พวกเขา BTS ตบเท้าเข้าสู่วงการเพลงป็อปด้วยการปรากฎตัวในฐานะไอดอลผู้ทำมิกซ์เทป พวกเขานำเสนอประเด็นทางสังคมอันประกอบด้วยการถูกรังแก กับเรื่องราวชีวิตประจำวันทั่วไปผ่านการแรพมาตั้งแต่เดบิวต์ และเผยเรื่องราวของตัวพวกเขาเองผ่านเพลงมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นด้วยเพลงเดบิวต์อย่าง ‘No More Dream’ ตามด้วย ‘N.O’, ‘Spine Breaker (등골브레이커)’, ‘Can You Turn Off Your Phone (핸드폰 좀 꺼줄래)’ ฯลฯ ซึ่งสอดแทรกภาพลักษณ์ทางสังคมที่พวกเขาเฝ้ามองดูและรู้สึกลงไปในเพลง ทำให้พวกเขาได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากเหล่าวัยรุ่น

แรงขับเคลื่อนความนิยมของ BTS ได้ถูกแผ่ขยายไปสู่บริบทระดับโลก ในปีนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม พวกเขาเป็นศิลปิน K-Pop กลุ่มแรกที่ชนะรางวัลจาก 1 ใน 3 งานประกาศรางวัลที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาอย่าง ‘Billboard Music Awards’ จารึกร่องรอยอันเด่นชัดเอาไว้ในประวัติศาสตร์เพลงเกาหลี

สาเหตุที่ซอแทจีให้ความสำคัญแก่ BTS เป็นพิเศษอาจอยู่ ณ ตรงนี้นี่เอง นั่นก็คือการภาพลักษณ์ของ BTS ซึ่งไม่จำกัดเรื่องราวอยู่เพียงแค่ ‘ความรัก’ และยังผลักดันถ้อยความที่พวกเขาต้องการจะเล่า ซึ่งเกี่ยวพันกับภาพลักษณ์ในยุค 90 ของตัวซอแทจีเอง

เป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจนจากการแสดงเพลง ‘Class Idea (교실이데아)’ และ ‘Come Back Home (컴백홈)’ ซึ่งนับเป็นการแสดงที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมอย่างมากในคอนเสิร์ตวันนั้น ซอแทจีและ BTS ผู้ปรากฏตัวในชุดยูนิฟอร์มร่วมกัน รับส่งท่อนแรพสุดยูนีคของเพลง ‘Class Idea (교실이데아)’ เผยเสน่ห์ให้เห็นกันถ้วนหน้า

แม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แต่ความเป็นจริงในเรื่องชุดยูนิฟอร์มนักเรียนก็ยังไม่แปรเปลี่ยนไปสักนิดเดียว ในที่สุดถ้อยความที่พวกเขาพูดก็รวมกันเป็นสายใยเดียวกัน ซอแทจีที่คล้องคอกับจีมิน และการชนกำปั้นของซอแทจีกับเหล่าเมมเบอร์ BTS เป็นสาเหตุว่าทำไมการแสดงของพวกเขาถึงมีความหมายมากกว่าการแสดงธรรมดาๆ

BTS จีมิน ที่ทำการแสดงในคอนเสิร์ตวันนั้นเอ่ยกับซอแทจี “ฮยองนิม วันนี้ไม่ใช่เล่นๆ เลยครับ” หลังจากนั้นซอแทจีก็ยิ้มอย่างยินดีและตอบกลับว่า “จากนี้ไปคือยุคของพวกนายแล้ว แสดงให้พวกเขาเห็นซะ” พร้อมกับเปิดนำการแสดงของ BTS

นับเป็นช่วงเวลาที่พลังแห่งดนตรีสานสัมพันธ์ ‘ยุคซอแทจี’ ที่คลั่งไคล้ในซอแทจี และ ‘ยุคแอนตี้ซอแทจี’ ที่ได้เป็นประจักษ์พยานตัวตนที่แท้จริงของศิลปินนามซอแทจีเป็นครั้งแรกในวันนั้น รวมกันเป็นหนึ่งเดียว

ซอแทจีผู้แสดงความรักที่มีต่อดนตรีและเฝ้ารอวันครบรอบปีที่ 30 และ BTS ที่กำลังเจริญก้าวหน้าอยู่ทุกวี่วัน สายตาของซอแทจีนั้นเฉียบคม จังหวะหายใจของพวกเขานั้นเกินจะคาดเดา เมื่อไหร่ไม่รู้ที่การพบเจอกันของพวกเขาถูกคาดการณ์เอาไว้แล้วมาตั้งแต่ไหนแต่ไร

อนึ่ง BTS กำลังจะคัมแบคด้วยมินิอัลบั้ม ‘LOVE YOURSELF 承 ‘Her’ ในวันที่ 18 ก.ย. ที่จะถึงนี้ และด้วยความเป็นอัลบั้มแรกจากซีรี่ส์ที่จะต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า ผู้คนต่างกำลังเพ่งความสนใจไปยังโลกที่พวกเขาจะนำเสนอใหม่นี้ต่อไป

ที่มา | Seoul Economic Daily
แปลจากเกาหลีเป็นไทยโดย CANDYCLOVER

DMCA.com Protection Status

ทาง CANDYCLOVER มีความยินดีหากผู้อ่านเล็งเห็นประโยชน์ของคอนเทนต์นี้ และต้องการนำไปประกอบเอกสารหรือสื่อทางการศึกษา เผยแพร่ต่อบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงนำไปผลิตของที่ระลึก เช่น Giveaway สำหรับแจกฟรี มิใช่การจัดจำหน่าย

หากต้องการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อทางอีเมลล์ bts.candyclover@gmail.com และรอการตอบกลับที่ระบุว่าอนุญาตแล้วเท่านั้น ยกเว้นกรณีการนำข้อมูลที่ “แปล เรียบเรียง หรือจัดทำโดย CANDYCLOVER” ไปรีโพสต์ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รีโพสต์บนแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ที่มิใช่แพลตฟอร์มของ CANDYCLOVER พร้อมใส่เครดิตเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงนำไปเป็นคอนเทนต์ทางสื่อโทรทัศน์ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามที่เข้าข่ายแอบอ้างผลงาน หากพบเห็นจะดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านชื่นชอบคอนเทนต์ที่ CANDYCLOVER นำเสนอ สามารถให้การสนับสนุนพวกเราได้ง่าย ๆ เพียง 1.) ไม่สนับสนุนแอคเคาต์ที่แอบอ้างข้อมูลที่แปลโดย CANDYCLOVER 2.) รีพอร์ตแอคเคาต์ดังกล่าวผ่านระบบของแพลตฟอร์มที่ท่านพบเห็นโพสต์ที่เข้าข่าย โดยเลือกหัวข้อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” 3.) สนับสนุนค่ากาแฟทาง Ko-fi หรือ Patreon

About the Author /

bts.candyclover@gmail.com

I go by the name Candy, a co-founder, admin, designer, translator, writer of and for CANDYCLOVER. I'm a graphic/UI designer and a self-taught Korean translator who's passionate about telling success stories of BTS in the form of mixed media from graphic to web-based experiences. Now, I'm also pursuing my career as a professional Korean translator. My recent book-length translation projects are: I AM BTS (TH Edition), BTS The Review (TH Edition) and more to come!

Post a Comment